ตัวชี้วัดการจัดการความรู้ในองค์กรภาคอุตสาหกรรม กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรสำนักงาน

Authors

  • รัญชนา สินธวาลัย ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
  • นภิสพร มีมงคล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112
  • นวพร เพ็งล่อง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112

Abstract

Many public and private organizations have been applied the concept of knowledge management (KM) to their operations. However, the method for measuring the performance of KM implementation has not widely and academically revealed.  This leads to the study of this research on how an organization measures the performance of KM implementation, focusing as a case study in industrial organization. The survey of information by a semi-structure interview with 12 industrial organizations was performed. These organizations were selected from the automotive and office-machinery industrial sectors, which are small, medium and large sized.  Subsequently, the information was compiled with the theory and literature review prior to develop the set of performance indicators.  This set of indicators was attempted to be the guideline for an organization how to setup the measurement of KM implementation.   บทคัดย่อ            องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชนได้มีการนำการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ ในองค์กรอย่างกว้างขวาง แต่การวัดผลการดำเนินงานซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสะท้อนประสิทธิผลของการจัดการความรู้  ยังมีข้อมูลเชิงประจักษ์ รวมทั้งการศึกษาวิจัยไม่มากนัก  ส่งผลให้การศึกษาครั้งนี้มุ่งประเด็นที่การวัดผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ในองค์กร โดยเลือกกรณีศึกษาเป็นองค์กรภาคอุตสาหกรรมจำนวน 12 แห่งจากอุตสาหกรรมกลุ่มยานยนต์และเครื่องจักรสำนักงาน ครอบคลุมขนาดขององค์กรทั้งเล็ก กลาง และใหญ่ อาศัยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ขององค์กร เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานถึงแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดด้านการจัดการความรู้ในองค์กร   จากนั้นทำการสังเคราะห์รวมกับข้อมูลจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยอื่นๆ เพื่อพัฒนาเป็นตัวชี้วัดต้นแบบสำหรับเป็นแนวทางให้องค์กรภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการวัดผลการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้นำไปปรับประยุกต์ใช้ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2012-07-17