ปัญหาอายุความฟ้องร้องและอายุความบังคับโทษ กรณีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกเกิน 7 ปี ตามมาตรา 95 (1) มาตรา 95 (2) มาตรา 98 (1) และมาตรา 98 (2)
Abstract
บทความนี้เป็นการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำหนดอายุความฟ้องร้องและอายุความบังคับโทษ กรณีความผิดต้องระวางโทษจำคุกเกิน 7 ปี ตามมาตรา 95 (1) มาตรา 95 (2) มาตรา 98(1) และมาตรา 98(2) ประมวลกฎหมายอาญาของไทย และกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน (Strafgesetzbuch: StGB) ประมวลกฎหมายรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (18 U.S.Code.) หรือมาตรการทางกฎหมายของอังกฤษ โดยทำการศึกษาทั้งแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอายุความคดีอาญาในกรณีความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ตราขึ้นบังคับใช้มาเป็นเวลายาวนาน โดยบังคับใช้มาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2500 และมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด ทั้งนี้ แม้จะได้มีการบัญญัติวางหลักขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรที่แน่นอนแล้วก็ตาม แต่กลับไม่สอดคล้องกับความร้ายแรงของผลที่ได้รับจากการเกิดอาชญากรรมและยังไม่สอดรับกับบริบททางสังคมที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอายุความคดีอาญาในกรณีความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีขึ้นไปตามประมวลกฎหมายอาญาให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของการกระทำความผิด อัตราโทษและความทันสมัยของสังคมและเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้อายุความที่กำหนดขึ้นใช้บังคับของไทยนั้นสามารถบังคับใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ลิดรอนสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกินสมควรอีกด้วย คำสำคัญ: อายุความ คดีอาญา การกำหนดอายุความDownloads
Published
2024-12-26
How to Cite
เจริญถิ่น อ. . (2024). ปัญหาอายุความฟ้องร้องและอายุความบังคับโทษ กรณีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกเกิน 7 ปี ตามมาตรา 95 (1) มาตรา 95 (2) มาตรา 98 (1) และมาตรา 98 (2) . วารสารนิติสาร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1(2), 93–116. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ll/article/view/16043
Issue
Section
Articles