แบบจำลองการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาจากปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์

Authors

  • โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี
  • เอกบุรุษ นิรัติศัย

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการตัดสินใจบนพื้นฐานของปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธการรับสมัครนักศึกษาใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาหรือสนใจศึกษาต่อในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ จำนวน 208 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆด้านทัศนคติกับการตัดสินใจเข้าศึกษา และสร้างแบบจำลองการตัดสินใจโดยใช้ต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) เพื่อนำไปวางแผนกลยุทธในการรับสมัครนักศึกษาในอนาคต จากการทดลองสร้างแบบจำลองในรูปแบบต้นไม้ตัดสินใจจากปัจจัย 4 ด้านได้แก่ ปัจจัยด้านข้อมูลทั่วไป ด้านการศึกษา ด้านเข้าถึงสื่อ และด้านทัศนคติและนำชุดของกฎที่ได้จากแบบจำลองไปใช้วางแผนกลยุทธในการรับสมัครนักศึกษาใหม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการรับสมัครนักศึกษาใหม่ต่อไป พบว่ามีจำนวนผู้มาสนใจหลักสูตรมากขึ้นจากการประชาสัมพันธ์แบบดั้งเดิมและแบบใช้สื่อสังคมออนไลน์แบบไม่มีกลยุทธ คำสำคัญ: สื่อสังคมออนไลน์, การตัดสินใจศึกษาต่อ, แบบจำลองการตัดสินใจ, ต้นไม้ตัดสินใจ, หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ Abstract: This study aimed to build a decision model in Information Technology (IT) Management curriculum enrollment based on attitude factors in social media usage. The samples used in this study consisted of 208 people who are studying or interest in IT-related fields such as Computer Engineering, Computer Science, Information Technology, Information Technology Management, etc. The data from the questionnaire was pre-analyzed to discover the relationship between attitude factors and enrollment decisions. Consequently, the decision model based on the Decision Tree was built to plan the admission strategies. This model was built from four factor groups: demographic factors, education factors, media awareness factors, and attitude in social media factors. A set of decision rules obtained from the model was applied for the effective strategic planning of new student enrollment via social media. The results of the public relations showed that a number of enrollees were superior than the traditional and non-strategic methods. Keywords: Social Media, Enrollment Decision, Decision Model, Decision Tree, IT Management Curriculum

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads