พฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงข้อแข็งคอนกรีตสำเร็จรูป ที่ใช้รอยต่อแบบเดือยบ่าเปิด

Authors

  • วรรณ์รพ ทามี นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
  • นิดา ชัยมูล หน่วยวิจัยแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
  • กริสน์ ชัยมูล หน่วยวิจัยทางด้านวิศวกรรมโครงสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่งภายใต้แรงดัดและแรงเฉือนของโครงข้อแข็งคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้รอยต่อแบบเดือยบ่าเปิดซึ่งเป็นระบบรอยต่อที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์มาจากรอยต่อของโครงสร้างไม้ที่ง่ายต่อการก่อสร้าง โดยเปรียบเทียบกับโครงข้อแข็งคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้รอยต่อแบบเว้าปลายคานและกับโครงข้อแข็งคอนกรีตหล่อในที่ โครงข้อแข็งตัวอย่างทดสอบมี 2 ช่วงคาน แต่ละช่วงยาว 3.00 m คานมีขนาดหน้าตัด 0.125 x 0.250 m และเสามีขนาดหน้าตัด 0.125 x 0.125 m แรงที่กระทำต่อโครงข้อแข็งเพิ่มขึ้นทีละน้อยอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งโครงข้อแข็งคอนกรีตวิบัติ จากผลการศึกษาพบว่า โครงข้อแข็งคอนกรีตสำเร็จรูปแบบเดือยบ่าเปิด มีความสามารถในการรับน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักบรรทุกประลัยที่ออกแบบประมาณ 3 เท่า และรับน้ำหนักได้ใกล้เคียงกับแบบเว้าปลายคาน แต่รับน้ำหนักได้น้อยกว่าแบบหล่อในที่ประมาณร้อยละ 19.1 โดยทั้งสามโครงข้อแข็งมีการแอ่นตัวเฉลี่ยที่กึ่งกลางช่วงคาน ณ น้ำหนักบรรทุกประลัยที่ออกแบบใกล้เคียงกันและไม่เกิดการวิบัติแบบทันทีทันใด คำสำคัญ: รอยต่อคาน-เสา โครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป รอยต่อแบบเว้าปลายคาน รอยต่อแบบเดือยบ่าเปิด ABSTRACT This research aims to study the vertical loading behavior under flexure and shear of precast concrete frame using stub tenon joint developed for precast concrete structure and based on a timber structure joint which is easy for construction work. The test results were compared with precast concrete frame using dented-beam-end joint and cast-in-place concrete frame. All tested frames had two spans, each span had length of 3.00 m. The beams and columns had cross section of 0.125 x 0.250 m and 0.125 x 0.125 m, respectively. The acting force was gradually increased until failure of the frame occurred. From the test results, it was found that the precast concrete frame using stub tenon joint had the loading capacity more than the factored or design load about 3 times and approximate to the loading capacity of the frame using dented-beam-end joint but less than that of the cast-in-place concrete frame about 19.1%. All frames had no difference in average deflection at mid-span at design load and did not exhibit sudden failure. Keyword: Beam-Column Joint, Precast Concrete Structure, Dented-Beam-End Joint, Stub Tenon Joint

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-01-04