การใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์สำหรับการจัดลำดับอุปสรรค ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโซ่อุปทาน

Authors

  • มนัสชนก บริสุทธิญาณี มหาวิทยาลัยรังสิต ต.หลักหก อ.เมือง จ. ปทุมธานี
  • บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์ หน่วยวิจัยเฉพาะทาง ISO-RU, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ. ปทุมธานี

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญของอุปสรรคในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโซ่อุปทาน โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process: AHP) บริษัทกรณีศึกษา จำนวน 10 บริษัท แบ่งเป็นบริษัทในภาคการผลิต จำนวน 5 บริษัท และบริษัทในภาคบริการและการขาย จำนวน 5 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ของสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จากการศึกษาพบว่าลำดับความสำคัญของอุปสรรคของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโซ่อุปทาน ในภาคการผลิตและบริการ ปัจจัยหลักที่มีความสำคัญเรียงจากมากไปน้อยคือ หลักเกณฑ์อุปสรรคด้านบุคคล อุปสรรคด้านโครงการ อุปสรรคด้านโซ่อุปทาน อุปสรรคด้านกลยุทธ์ และอุปสรรคด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ โดยการขาดการฝึกอบรมและให้ความรู้ เป็นปัจจัยย่อยที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดการโครงการไม่ดี ผลที่ได้นี้สามารถนำไปกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาของอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นต่อไปได้ คำสำคัญ: เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโซ่อุปทาน อุปสรรค กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ABSTRACT The objective of this research is to rank the barriers of supply chain information technology adoption by Analytic Hierarchy Process (AHP). The case studies are ten companies that are divided into five companies in industrial sector and five companies in service and sale sector. These companies participate in a promotion of applying information technology project of logistics unit, the Bureau of Logistics Department, Department of Primary Industries and Mines. The result of this research shows the ranking of supply chain information technology adoption in both industrial and service sectors. The main criteria are ranked by decreasing order of individual barriers, project, supply chain, strategic and technological barriers. Inadequate knowledge and training are the most critical sub-criteria. Poor project management is the following important sub-criteria. These results can use to set the guideline for barrier prevention and solution to the problems, which might occur. Keyword: Supply Chain Information Technology, Barriers, Analytic Hierarchy Process (AHP)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-12-30