ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการซื้อการจ้างในโครงการก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract
บทคัดย่อ ในปัจจุบันการซื้อการจ้างของหน่วยงานภาครัฐในโครงการก่อสร้างที่มีราคากลางมากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไปมีวิธีการซื้อการจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e-bidding) ถือว่าเป็นวิธีที่ใหม่ จึงทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความสับสน ไม่เข้าใจขั้นตอนของกระบวนการซื้อการจ้าง ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่คุ้นเคยและแยกเป็นหลายกระบวนการ อาจปฏิบัติงานผิดพลาดทำให้เกิดความล่าช้าส่งผลกระทบต่อกระบวนการเริ่มต้นการซื้อการจ้าง ฉะนั้นต้องมีการวิเคราะห์หาปัจจัยทีมีผลกระทบเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการแก้ไขกระบวนการให้มีประสิทธิภาพในการซื้อการจ้างให้ได้มาซึ่งผู้รับจ้างของโครงการก่อสร้าง โดยการศึกษาวิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการอภิปรายกลุ่มเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เพื่อมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์แก่นสาระ วิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มของเจ้าหน้าที่พัสดุของหน่วยงานภาครัฐภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 9 หน่วยงาน และกลุ่มของผู้ค้ากับภาครัฐ จำนวน 8 ราย ผลการวิจัยที่ได้จากการสัมภาษณ์และการอภิปรายกลุ่มพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการซื้อการจ้างภาครัฐด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์มีปัจจัยหลักด้วยกันอยู่ 3 อย่างคือ 1. จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์เกิดจากความไม่ชำนาญในการซื้อการจ้าง เนื่องจากวิธีการประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่งมีการเริ่มใช้จึงทำให้เจ้าหน้าที่พัสดุยังขาดความเชียวชาญในการทำงาน 2. ตัวระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) โดยระบบนั้นยังคงใหม่จึงทำให้เกิดจุดที่ยังไม่มีความเข้าใจในขอบเขตการทำงานของระบบ และ 3. กระบวนการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนที่ไม่คุ้นเคยจึงทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คำสำคัญ: การซื้อการจ้าง งานก่อสร้าง หน่วยงานภาครัฐ ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ABSTRACT At present, procurement in government agencies over 2 million Baht is done by Electronic Bidding or commonly known as “e-bidding”. E-bidding is relatively new with many procedures, causing confusion and delay among those involved, Research described in this document was conducted in order to find recommendations to improve e-bidding. To do so, data and information on e-bidding problems were gathered from target groups by two means: (i) in depth interviews, and (ii) group discussion. They are followed by data comparison and analysis. Nine target groups are selected from: (i) inventory staff of government agency in srinakharinwirot university, and (ii) their counterparts in commercial sector. Results of analysis reveal that causes of e-bidding problems are: (i) lack of experience of personnel involved in e-bidding procedures, (ii) e-bidding system (e-GP) is new and (iii) e-bidding procedures are complicated. Keyword: Procuement, Construction, Government Agencies, Electronic Bidding (e - bidding)Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2016-12-30
Issue
Section
บทความวิจัย
License
ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ