สหายธรรม ญาติธรรมกับการสร้างการยอมรับพุทธทาสภิกขุในทศวรรษ 2490

Authors

  • ทิวาพร อภัยพัฒน์

Abstract

บทความชิ้นนี้ศึกษาประวัติศาสตร์พุทธศาสนาโดยมุ่งประเด็นการศึกษาไปที่พุทธทาสภิกขุ เพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดพระสงฆ์หนุ่มบ้านนอกผู้มีสมณศักดิ์น้อยเช่น พุทธทาสภิกขุถึงเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยจนกระทั่งได้รับการยอมรับในฐานะพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิ จากบริบทสังคมไทยขณะนั้นก่อให้เกิดการตื่นตัวต่อการศึกษาพุทธศาสนาไทย ปัญญาชนไทยจำนวนหนึ่งหันมาสนใจศึกษาพุทธศาสนาที่มีคำอธิบายสอดคล้องกับหลักเหตุผล พุทธทาสภิกขุคือพระสงฆ์รูปแรกที่สร้างสรรค์ผลงานประพันธ์ทางพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับความต้องการของปัญญาชนไทยในทศวรรษที่ 2470 – 2490 จนกระทั่งทำให้พวกเขาสนับสนุนพระสงฆ์หนุ่มผู้มากความสามารถเช่นพุทธทาสภิกขุ แม้ว่าพวกเขาจะมีแนวคิดและบทบาททางการเมืองที่แตกต่างกันก็ดูจะไม่เป็นปัญหาต่อการสนับสนุนพระสงฆ์รูปเดียวกัน พวกเขาสร้างการยอมรับพุทธทาสภิกขุผ่านหน่วยงานและองค์กรที่พวกเขาเข้าไปมีบทบาท จนกระทั่งทำให้ผลงานและชื่อของพุทธทาสภิกขุเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในเวลาต่อมา

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-10-29