https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/issue/feed วารสารประวัติศาสตร์ 2023-01-12T07:14:27+00:00 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ nattapol@swu.ac.th Open Journal Systems https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14983 กุญแจแห่งฟากฟ้า: เรขาคณิตวิเคราะห์ จากกรีกโบราณ จนถึงนิวตัน 2023-01-12T07:05:43+00:00 สิกขา สองคำชุม nattapol@g.swu.ac.th <p>-</p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14984 ระบอบดูเตร์เต้: องค(ชาต)อธิปัตย์แบบศรีธนญชัยกับ “สกุลรส” ของผู้นําอํานาจนิยม 2023-01-12T07:09:58+00:00 อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู nattapol@g.swu.ac.th <p>-</p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14966 บทบรรณาธิการ 2023-01-11T02:18:59+00:00 Nattapol Isarankura nattapol@g.swu.ac.th <p>วารสารประวัติศาสตร์เสนอบทความวิชาการและบทความวิจัย ในสาขาประวัติศาสตร์ ซึ่งผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ศึกษาประวัติศาสตร์และผู้สนใจทั่วไป วารสารพร้อมจะเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่งานวิชาการ จึงขอเชิญอาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาพิมพ์เผยแพร่ในวารสารประวัติศาสตร์ฉบับต่อๆไป<br>กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ส่งบทความมาให้ทางวรสารพิจารณา และขอขอบคุณ ธนดล ดีประคอง นิสิต ภาควิชาประวัติศาสตร์สำรับภาพปก</p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 วารสารประวัติศาสตร์ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14967 บทบาทคริสตจักรนิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์ในกระแสความ สัมพันธ์ ระหว่างประเทศ และกรณีศึกษาประเทศไทย 2023-01-11T02:25:53+00:00 จิราพร ร่วมพงษ์พัฒนะ jirapornt@g.swu.ac.th <p><span style="font-weight: 400;">บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยหัวข้ออิทธิพลคริสตจักรนิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์ในสังคมพหุวัฒนธรรมไทยกรณี</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ศึกษาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขอบเขตงานแบ่งออกเป็นเชิงเวลาและเชิงพื้นที่ โดยเชิงเวลาเป็นการสํารวจข้อมูลความเป็นมาของ ศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ สําหรับเชิงพื้นที่ เป็นการสํารวจข้อมูลศาสนจักรคริสต์ออร์โธดอกซ์กับบทบาทต่างประเทศ การแพร่ หลายในต่างประเทศ รวมถึงการเข้ามายังประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ด้าน คือ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านการต่างประเทศ ด้าน การบูรณาการการวิเคราะห์อิทธิพลศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์กับประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบร่วมกับสองมิติ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ที่กล่าวไป ผลการวิจัยในบทความนี้พบว่าจากวัตถุประสงค์ที่มองถึงมิติประวัติศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานสําคัญในบทบาทเชิงนโยบาย ต่างประเทศของรัสเซียปัจจุบันตามวัตถุประสงค์มิติการต่างประเทศอันเนื่องจากรัฐบาลรัสเซียได้มีการนําคริสตจักรนิกายรัสเซียน -ออร์โธดอกซ์กับมาใช้เป็นกลไกทางอํานาจอ่อน (Soft Power) กับนโยบายต่างประเทศของรัสเซียปัจจุบันผ่านแนวคิดโลกรัสเซีย หรือรุสกี้มีร์ (Russkiymir) ที่ส่งผลต่อการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเชื่อมโยงกับความเป็นสังคม วัฒนธรรม รวมถึง เศรษฐกิจและการเมือง ตามวัตถุประสงค์มิติการบูรณาการ กล่าวคือ รัสเซียมีปูมหลังในแนวคิดสลาฟนิยม (Slavophiles) ที่ยึดมั่น ถือมั่นในคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ส่งผลต่อการเป็นกลไกปฏิรูปด้านจิตวิญญาณของรัสเซีย สัมพันธ์ไปสู่การส่งออกอารยธรรมรัสเซีย เพื่อการมีอิทธิพลและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ผ่านวัฒนธรรม ศาสนา ความคิดและภาษารัสเซีย และถือว่าเป็นแขนงคล้ายกลไก ทางการทูต ที่มีผลต่อการปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งประเทศไทยเองแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในกลุ่ม เกี่ยวพันโดยตรง แต่ก็เลี่ยงไม่ได้กับความสัมพันธ์ด้านศาสนาในความสัมพันธ์ระหว่างไทยและรัสเซีย คริสตจักรออร์โธดอกซ์รัสเซียใน ประเทศไทยมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณสําหรับชาวรัสเซียที่สัมพันธ์กับสังฆมณฑลออร์โธดอกซ์แห่งรัสเซียอย่างมีพลวัต</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14968 สุุนทราภรณ์ใต้ปีกพญาอินทรี : อัสดงคตอเมริกานุวัตรกับ วงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุคสงครามเย็น 2023-01-11T02:34:35+00:00 บุญพิทักษ์ เสนีบุรพทิศ nattapol@g.swu.ac.th <p><span style="font-weight: 400;">บทความนี้ต้องการศึกษาสภาวะอัน “คลุมเครือ” ในการจัดวางตําแหน่งแห่งที่ของการรับอิทธิพลวัฒนธรรมอเมริกันช่วง ยุคสงครามเย็นของวงดนตรีสุนทราภรณ์ เพื่อทําความเข้าใจความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและความรู้ทางดนตรีแบบสมัยใหม่ของวง ดนตรีสุนทราภรณ์เมื่อเผชิญหน้ากับกระแส “อเมริกานุวัตร” (Americanization) อันเป็นกระบวนการของการปะทะสังสรรค์ ปรับ เปลี่ยนอัตลักษณ์ และรับมือกับความเป็นตะวันตกอย่างสลับซับซ้อน ผ่านกรอบแนวคิดแบบ “อัสดงคตนิยม” (Occidentalism) ซึ่ง ช่วยเปิดมุมมองและทบทวนปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “ความเป็นไทย” และ “ความเป็นตะวันตก” อันมีผลต่อการจัดจําแนกแยกแยะการ แบ่งรับแบ่งสู้ การผสมผสานเลียนแบบหรือตอบโต้ ซึ่งกันและกันที่ส่งผลในการสร้างสภาวะความเป็นสมัยใหม่แบบ “ไทยสากล”</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14974 โอตาคุ (Otaku) ในสังคมไทย: ประวัติศาสตร์การกลายเป็นคนชายขอบทาง วัฒนธรรมของผู้ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2550 2023-01-12T06:16:31+00:00 โดม ไกรปกรณื domek.ra@hotmail.com <p><span style="font-weight: 400;">บทความนี้เป็นส่วนหนี่งของงานวิจัยเรื่องโอตาคุในสังคมไทย:ประวัติศาสตร์การกลายเป็นคนชายขอบทางวัฒนธรรมซึ่ง ได้รับทุนจากเงินรายได้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2563</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ของ “โอตาคุ” (กลุ่มผู้ชื่นชอบบริโภคการ์ตูน วิดีโอเกม เพลงสมัยนิยมและศิลปินไอดอลญี่ปุ่น การแต่งคอสเพลย์) ในสังคมไทย ซึ่งถูกทําให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” (cultural marginalized people) จากกรณีศึกษา ผู้ชื่นชอบการ์ตูน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของ “โอตาคุ” ในสังคมไทย 2. อธิบาย กระบวนการที่ “โอตาคุ” ถูกทําให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” 3. อธิบายถึงการสร้างพื้นที่ทางสังคม (social space) ของ โอตาคุที่ใช้ในการสื่อสาร ต่อรอง แสดงตัวตน ในอีกมุมหนึ่ง บทความนี้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์ตัวบท (text) เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือ วิทยานิพนธ์ เว็บไซต์ต่าง ๆ ประกอบกับการนําเอาแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามา ประยุกต์ใช้ในการตีความข้อมูล</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่การ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาในสังคมไทย การบริโภคการ์ตูนญี่ปุ่นด้วยความชื่นชอบได้ถูกต่อต้านผ่าน วาทกรรมกระแสหลักว่าการ์ตูนเป็นสิ่งไร้สาระ สิ่งเลวร้าย ทําให้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนมีสถานะเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” ใน</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">สถานการณ์ดังกล่าวนี้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนและธุรกิจเอกชนเกี่ยวข้องการ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทยได้สร้างพื้นที่ทางสังคมในรูปแบบของ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">กิจกรรมและพื้นที่ออนไลน์ให้ผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมโอตาคุได้พบปะ ทํากิจกรรมร่วมกัน แสดงถึงอัตลักษณ์ (identy) ของตนเพื่อต่อ รองกับกระแสสังคมที่เบียดขับให้พวกตนเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม”</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14975 การอพยพของมุสลิมไทย ช่วงทศวรรษ 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตหนองจอก 2023-01-12T06:24:16+00:00 พรพรรณ โปร่งจิตร pornpan@g.swu.ac.th <p><span style="font-weight: 400;">บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการอพยพของมุสลิมไทยในช่วงทศวรรษ 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตหนองจอกประวัติศาสตร์การ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">อพยพของมุสลิมไทยนั้นจากการสํารวจเอกสารพบว่า มุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายูและตั้ง ถิ่นฐานอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ต่อมามีการอพยพของมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูครั้งสําคัญในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็น ประวัติศาสตร์ที่สําคัญต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในครั้งนั้นมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณฝั่งตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2550 เกิดการอพยพของมุสลิมไทย เชื้อสายมลายูเข้ามายังพื้นที่บริเวณเขตหนองจอกจํานวนมาก ซึ่งมีความสําคัญและนัยทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นชุมชน</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">เติมของมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูและนัยทางการเมืองที่เป็นสาเหตุของการอพยพที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในด้านเวลา</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ซึ่งอย่างไรก็ตามมุสลิมไทยที่อพยพเข้ามาในบริเวณเขตหนองจอก ก็ยังคงมีจุดมุ่งหมายเดิมที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือเพื่อการ ตั้งถิ่นที่มั่นคง การประกอบอาชีพที่สุจริตและสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนเองได้ เฉกเช่นเดียวกับมุสลิมไทยเชื้อสายอื่น ๆ ที่อยู่ ร่วมกับพี่น้องต่างศาสนิก ต่างวัฒนธรรม อย่างปรองดอง สมานฉันท์ และสันติสุข โดยมีจุดร่วมกันคือ “การเป็นพลเมืองไทย” เช่น เดียวกันและเท่าเทียมกัน ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14976 “กวาดล้างให้สิ้นซาก”: การเมืองอินโดนีเซีย หนังสือพิมพ์ฝ่าย ขวา และการสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ระหว่างปี 1965-1966" 2023-01-12T06:44:30+00:00 ตวงทิพย์ พรมเขต nattapol@g.swu.ac.th <p><span style="font-weight: 400;">หลังกรณีเกสตาปูในปี 1965 พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังความพยายามปฏิวัติล้มล้างรัฐบาล และมีการสังหารหมู่สมาชิกพรรคและผู้ต้องสงสัยว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์มากกว่า 500,000 คน บทความนี้ศึกษาปัญหาคอมมิวนิสต์ใน อินโดนีเซียระหว่างปี 1965-1966 โดยเสนอว่ากองทัพ กลุ่มพลเรือนฝ่ายขวา และองค์กรมุสลิมสายจารีตใช้หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือ รณรงค์ปราบปรามกวาดล้างสมาชิกและผู้ต้องสงสัยว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ สร้างภาพให้คอมมิวนิสต์เป็นผู้ทรยศต่อชาติ พระเจ้า และ หลักปัญจศีล จําเป็นจะต้องปราบปรามกวาดล้างให้สิ้นซาก เป็นผลให้มีการประกาศใช้กฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในที่สุด นอกจาก</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">นี้การสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ยังสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองและศาสนาระหว่างฝ่ายขวากับพรรคคอมมิวนิสต์ อินโดนีเซียโดยเฉพาะในเรื่องหลักปัญจศีล ซึ่งเป็นอุดมการณ์สูงสุดแห่งรัฐด้วย</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14979 การหวนคืนของพรรคการเมืองขวาจัดในยุโรป ระหว่างปี 1945 – 2014 2023-01-12T06:53:39+00:00 สรรพมงคล พรมวงษ์ nattapol@g.swu.ac.th <p><em><span style="font-weight: 400;">บทความ ศึกษาความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของพรรคการเมืองขวาจัดในสหภาพยุโรป (อิตาลี, เยอรมนี, และ ฝรั่งเศส) ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี 1945 - 2014 โดยต้องการชี้ให้เห็นถึงพลวัตและบทบาทของพรรคการเมือง ขวาจัด ในช่วงเวลาก่อนที่จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองยุโรปกระแสหลักในปัจจุบัน หรืออีกนัยหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นการกําเนิด</span></em></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">ขึ้นใหม่ของพรรคการเมืองขวาจัดในยุโรปอีกครั้งหนึ่ง ท่ามกลางความถดถอยของระเบียบโลกและคุณค่าแบบเสรีนิยมใหม่ ภายใต้ การนําของพันธมิตรโลกเสรีนิยมอย่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรป (Trans-Atlantic) และความขัดแย้งระหว่างเหล่าพันธมิตรโลก เสรีนิยม ที่เป็นผู้ถือครองการนําระเบียบโลกในปัจจุบัน กับมหาอํานาจโลกอเสรีนิยม ที่นําโดยรัสเซีย ผู้ต้องการที่จะแข่งขัน เพื่อช่วง ซึ่งการนําในระเบียบโลกใหม่มาจากโลกเสรีนิยม ซึ่งจากบริบทดังกล่าวนี้ ได้นํามาสู่ความแตกแยกภายในของสหภาพยุโรป ที่ทําให้</span></em></p> <p><span style="font-weight: 400;">พรรคการเมืองขวาจัดในสหภาพยุโรปมีความสําคัญในฐานะตัวหมากของรัสเซียที่นํามาใช้ เพื่อท้าทายการนําของสหภาพยุโรปใน ยุโรป ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของขบวนการทางการเมืองของฝ่ายขวาจัด มีอยู่ 2 ระดับ 1) การเปลี่ยนแปลงเชิง ยุทธวิธี และ 2) การแพร่หลายในการทําให้เป็นอภิการเมือง (Metapoliticization) ของความคิดทางการเมืองแบบขวาจัด ยิ่งไปกว่า นั้น พลวัตของความคิดทางการเมืองแบบขวาจัด ที่แผ่ขยายจากยุโรปไปสู่รัสเซีย ได้หวนคืนมามีอิทธิพลและเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่ง ผลให้พรรคการเมืองขวาจัดในสหภาพยุโรปแข็งแกร่งยิ่งขึ้น</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14980 การโจมตีด้วยโดรนสมัยโอบามา : ทัศนคติของชาวอเมริกัน และชาวโลก 2023-01-12T06:56:39+00:00 ปวีณา บุศบกอ่อน nattapol@g.swu.ac.th ชาคริต ชุ่มวัฒนะ cchoom@yahoo.com <p><span style="font-weight: 400;">บทความนี้มุ่งศึกษาทัศนะหรือความเห็นของชาวอเมริกันและชาวโลกต่อปฏิบัติการโจมตีทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนในช่วงการบริหารงานของประธานาธิบดีบารัค โอบามา (ค.ศ. 2009-2017) เนื่องจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศด้วยโดรน มีอัตราสูงขึ้นมากในช่วงรัฐบาลนี้ ซึ่งเป็นการดําเนินยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติในการต่อต้านการก่อการร้าย โดรนได้ถูกนํามาใช้ เป็นเครื่องมือสังหารเป้าหมาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐฯ การขยายตัวของปฏิบัติ การโดรนได้สร้างความตื่นเต้นและก่อความกังวลให้แก่ผู้คนไปพร้อมๆ กัน องค์กรอิสระต่างๆ ได้เข้าเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีปฏิบัติการ ทางอากาศของสหรัฐฯ เมื่อผลเสียหายข้างเคียงที่เกิดจากโดรนปรากฏให้เห็นมากขึ้นจนก่อความวิตกทั้งแก่องค์กรระหว่างประเทศ นานาชาติและแม้แต่ผู้คนในสหรัฐฯ เอง จึงเกิดการถกเถียงเกี่ยวกับการใช้โดรนโจมตี และการสํารวจความคิดเห็นของประชาชน โดยเฉพาะชาวอเมริกันเป็นระยะๆ เนื่องจากความคิดเห็นนี้ย่อมส่งผลต่อการกําหนดหรือปรับเปลี่ยนทิศทางของนโยบายการโจมตี ด้วยโดรนของรัฐบาลอเมริกัน</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">จากการวิจัยพบว่าในช่วงรัฐบาลโอบามาซึ่งมีการใช้โดรนโจมตีมากกว่ารัฐบาลชุดก่อนหน้า ชาวอเมริกันจํานวนมากยังคง ให้การสนับสนุนการใช้โดรนต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายในต่างประเทศต่อไปหลังจากที่พิจารณาความเสี่ยงต่างๆ แล้ว อย่างไรก็ดี ตัวเลข ผู้สนับสนุนขึ้นลงในช่วงการสํารวจที่ต่างกัน แต่จํานวนผู้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้มีแต่เพิ่มขึ้น ส่วนในด้านความเห็นของนานาชาติต่อ การใช้โดรนของสหรัฐฯ นั้น มีเสียงต่อต้านนโยบายนี้สูงมาก และมีการตรวจสอบโครงการโดรนของสหรัฐฯ เพื่อให้อยู่บนหลักการ มนุษยธรรมและความชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ถึงแม้จะมีการสํารวจความคิดเห็นของสาธารณชนทั้งในและนอก สหรัฐฯ และเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่มากพอที่จะหยุดยั้งรัฐบาลโอบามาในการสั่งโจมตีเป้าหมายด้วยโดรน จนหมดวาระของรัฐบาล</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14981 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี กับงานโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์ในนครเชียงใหม่ 2023-01-12T07:00:29+00:00 สรัสวดี อ๋องสกุล nattapol@g.swu.ac.th <p><span style="font-weight: 400;">บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในนคร เชียงใหม่ ผลงานส่วนใหญ่ทรงดําเนินการหลังจากเสด็จกลับมาประทับนครเชียงใหม่อย่างถาวร หลัง พ.ศ.2457/1914 จนถึง พ.ศ. .2476/1933 ปีที่พระองค์สิ้นพระชนม์</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">ผลการศึกษา พบว่า พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ให้ความสนพระทัยในงานโบราณคดีสนองพระบรมราโชบายของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้า ประกอบกับความสนพระทัยส่วนพระองค์ด้วย ผลงานทรงเป็นทั้งองค์อุปถัมภ์การศึกษาค้นคว้าในโครงการ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">เรียบเรียงพงศาวดารนครเชียงใหม่ และค้นคว้าด้วยพระองค์เอง โดยทรงงานสํารวจและค้นคว้าแหล่งโบราณคดี จนสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ นักประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของสยามประเทศชื่นชมยกย่อง พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ว่า เป็นผู้มีความรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ดียิ่งในมณฑลพายัพ</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/14982 การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และเศรษฐกิจในสามเสนหลังการ สร้างพระราชวังดุสิต ทศวรรษ 2440-2450 2023-01-12T07:03:17+00:00 อิทธิกร ทองแกมแก้ว nattapol@g.swu.ac.th <p><span style="font-weight: 400;">บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับท้องที่สามเสนภายหลังการสร้างพระราชวังดุสิตในช่วงทศวรรษ 2440 ซึ่งทําให้พื้นที่ส</span></p> <p><em><span style="font-weight: 400;">ก้าวเข้าสู่ความเป็นเมืองสมัยใหม่ ข้อเสนอของบทความคือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขสําคัญสองประการ ประการแรกคือการปฏิรูปกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยทุนของรัฐ และอีกประการคือชาวจีนที่อพยพเข้ามาได้มีส่วนสําคัญต่อการพัฒนาและ</span></em></p> <p><span style="font-weight: 400;">เติบโตทางเศรษฐกิจของย่านสามเสนแทนที่กลุ่มคนชาวญวนที่เป็นเจ้าของพื้นที่ทางเศรษฐกิจดั้งเดิมเงื่อนไขทั้งสองประการนี้นํามา ซึ่งปัญหาอาชญากรรม จนสร้างความยากลําบากในการจัดการดูแลของรัฐในท้องที่สามเสนอยู่บ่อยครั้ง</span></p> 2023-01-12T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2023