การอพยพของมุสลิมไทย ช่วงทศวรรษ 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตหนองจอก

Authors

  • พรพรรณ โปร่งจิตร

Abstract

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาการอพยพของมุสลิมไทยในช่วงทศวรรษ 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตหนองจอกประวัติศาสตร์การ อพยพของมุสลิมไทยนั้นจากการสํารวจเอกสารพบว่า มุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายูและตั้ง ถิ่นฐานอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ต่อมามีการอพยพของมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูครั้งสําคัญในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็น ประวัติศาสตร์ที่สําคัญต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในครั้งนั้นมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณฝั่งตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือเขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2550 เกิดการอพยพของมุสลิมไทย เชื้อสายมลายูเข้ามายังพื้นที่บริเวณเขตหนองจอกจํานวนมาก ซึ่งมีความสําคัญและนัยทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นชุมชน เติมของมุสลิมไทยเชื้อสายมลายูและนัยทางการเมืองที่เป็นสาเหตุของการอพยพที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในด้านเวลา ซึ่งอย่างไรก็ตามมุสลิมไทยที่อพยพเข้ามาในบริเวณเขตหนองจอก ก็ยังคงมีจุดมุ่งหมายเดิมที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือเพื่อการ ตั้งถิ่นที่มั่นคง การประกอบอาชีพที่สุจริตและสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนเองได้ เฉกเช่นเดียวกับมุสลิมไทยเชื้อสายอื่น ๆ ที่อยู่ ร่วมกับพี่น้องต่างศาสนิก ต่างวัฒนธรรม อย่างปรองดอง สมานฉันท์ และสันติสุข โดยมีจุดร่วมกันคือ “การเป็นพลเมืองไทย” เช่น เดียวกันและเท่าเทียมกัน ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-01-12