โอตาคุ (Otaku) ในสังคมไทย: ประวัติศาสตร์การกลายเป็นคนชายขอบทาง วัฒนธรรมของผู้ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2550
Abstract
บทความนี้เป็นส่วนหนี่งของงานวิจัยเรื่องโอตาคุในสังคมไทย:ประวัติศาสตร์การกลายเป็นคนชายขอบทางวัฒนธรรมซึ่ง ได้รับทุนจากเงินรายได้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2563 บทความวิจัยนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ของ “โอตาคุ” (กลุ่มผู้ชื่นชอบบริโภคการ์ตูน วิดีโอเกม เพลงสมัยนิยมและศิลปินไอดอลญี่ปุ่น การแต่งคอสเพลย์) ในสังคมไทย ซึ่งถูกทําให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” (cultural marginalized people) จากกรณีศึกษา ผู้ชื่นชอบการ์ตูน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของ “โอตาคุ” ในสังคมไทย 2. อธิบาย กระบวนการที่ “โอตาคุ” ถูกทําให้เป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” 3. อธิบายถึงการสร้างพื้นที่ทางสังคม (social space) ของ โอตาคุที่ใช้ในการสื่อสาร ต่อรอง แสดงตัวตน ในอีกมุมหนึ่ง บทความนี้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์ตัวบท (text) เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสือ วิทยานิพนธ์ เว็บไซต์ต่าง ๆ ประกอบกับการนําเอาแนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามา ประยุกต์ใช้ในการตีความข้อมูล จากการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่การ์ตูนญี่ปุ่นเข้ามาในสังคมไทย การบริโภคการ์ตูนญี่ปุ่นด้วยความชื่นชอบได้ถูกต่อต้านผ่าน วาทกรรมกระแสหลักว่าการ์ตูนเป็นสิ่งไร้สาระ สิ่งเลวร้าย ทําให้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนมีสถานะเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม” ใน สถานการณ์ดังกล่าวนี้ผู้ที่ชื่นชอบการ์ตูนและธุรกิจเอกชนเกี่ยวข้องการ์ตูนญี่ปุ่นแปลไทยได้สร้างพื้นที่ทางสังคมในรูปแบบของ กิจกรรมและพื้นที่ออนไลน์ให้ผู้ที่ชื่นชอบวัฒนธรรมโอตาคุได้พบปะ ทํากิจกรรมร่วมกัน แสดงถึงอัตลักษณ์ (identy) ของตนเพื่อต่อ รองกับกระแสสังคมที่เบียดขับให้พวกตนเป็น “คนชายขอบทางวัฒนธรรม”Downloads
Download data is not yet available.