พิพิธภัณฑ์ต้านโกง

Authors

  • เฉลียว พันธุ์สีดา

Abstract

ความหมายพิพิธภัณฑ์ต้านโกง (Anti Corruption Museum-ACM) หมายถึง แหล่งเรียนรู้ในลักษณะเฉพาะที่ทันสมัยและสมบูรณ์แบบในการปลุกจิตสำนึกความสำคัญในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างสังคมแห่งความโปร่งใสในชาติ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และคนไทยทั่วไป โดยร่วมมือแจ้งเบาะแสและช่วยขจัดบุคคลผู้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองและผู้อื่นความเป็นมาของการเกิดคอร์รัปชันการเกิด “คอร์รัปชัน” มีมาตั้งแต่อดีตสมัยถึงปัจจุบันดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กำหนดข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาให้มีการปฏิบัติกายและวาจาให้เรียบร้อยตามที่ปรากฏในศีล 5 ข้อที่ 2 อทินนาทาน คือ ห้ามพุทธศาสนิกชนถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้แก่ตน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546) : หน้า1323) ในศาสนาอื่นๆ ก็สอนให้ผู้ที่นับถือปฏิบัติตนเป็นคนดี ไม่ให้ลักทรัพย์และเบียดเบียนต่อกันแต่ธรรมชาติของคนในโลกนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ปัจจุบัน คนไม่ดีทำการ “คอร์รัปชัน” เป็นข่าวครึกโครมครอบคลุมไปทั่วทุกมุมโลกในทุกทวีปมีนานาประเทศทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาแอฟริกา และออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา ประเทศยากจนและยังไม่เว้นแม้แต่ “ประเทศไทย” (ไทยโพสต์.2560. หน้า 5)คอร์รัปชัน” เกิดขึ้นในทุกวงการ และเกิดขึ้นในนานาประเทศทั่วโลกดังที่กล่าวมา สรุปได้ว่า “คอร์รัปชัน” ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้นั้น ไม่เป็นธรรมต่อมวลมนุษย์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จึงนับเป็นสิ่งเลวร้ายต่อมวลมนุษย์คู่กับโลกใบนี้มาช้านาน เป็นสิ่งพึงรังเกียจและเป็นพิษเป็นภัยต่อสังคมทั้งโลก รวมไปถึงเศรษฐกิจของผู้คนในทุกชาติทุกภาษา และเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงเกิดขึ้นจริงแท้แน่นอนสืบทอดมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ในเมื่อ “คอร์รัปชัน” สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่ประชากรของโลก จึงต้องร่วมมือกันหาทางป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นต่อไป หรือหากจะมีก็ขอให้มีน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบต่อการกระทำธุรกรรมร่วมกันในทุกด้าน อาทิ ทำการค้า ลงทุนทำธุรกิจ รวมถึงการร่วมทุนในกิจการต่างๆระหว่างกันในทุกชาติ เพื่อขจัดอุปสรรคในการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันดังนั้น นานาชาติจึงหันมาร่วมมือกันคิดแก้ปัญหาโดยการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้น เพื่อรณรงค์ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันให้เกิดความโปร่งใส (Transparency International : IT-ไอที) ให้มีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน ไม่ว่าต้นทุนที่นำไปลงหรือกำไร จะต้องได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกโกงและไม่ทำให้เสียโอกาส จึงจัดตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นที่ประเทศเยอรมนี ปัจจุบันมีเครือข่ายมากกว่า 120ประเทศทั่วโลก สำนักงานนี้มีหน้าที่จัดทำดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption PerceptionsIndex– CPI–ซีพีไอ) ทั่วโลกเป็นประจำทุกปี ค่าดรรชนีชี้วัดดังกล่าว จะตั้งค่าเป็นคะแนนตั้งแต่ 0เป็นคอร์รัปชันมากที่สุด ถึง 100 เป็นคอร์รัปชันน้อยที่สุด (นิทรรศการยกระดับดรรชนี CPI ให้ชาติพ้นโกงกิน. ม.ป.ป. แผ่นพับ)องค์กรแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันให้เกิดความโปร่งใส (ไอที) ได้จัดทำดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นปัญหาในระดับสากลล่าสุด ปี พ.ศ. 2559 นั้น ภาพรวมความโปร่งใสนานาชาติทั่วโลก พบว่า สองในสามของประเทศที่ได้สำรวจทั้งหมด ได้คะแนน ซีพีไอ ไม่ถึงครึ่งซึ่งค่าเฉลี่ย ซีพีไอ อยู่ที่ 43 คะแนนเท่านั้น โดย 5ประเทศที่มีความโปร่งใสสูงที่สุด ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก และนิวซีแลนด์ ได้คะแนนซีพีไอเท่ากันคือ 90 คะแนน ฟินแลนด์ ได้ 89 คะแนน สวีเดนได้ 88 คะแนน และสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 86 คะแนนสำหรับประเทศไทย ได้คะแนนซีพีไอเพียง 35คะแนน อยู่ที่ลำดับ 101 จากทั้งหมด 176 ประเทศทั่วโลก ถ้านับเฉพาะกลุ่มประเทศในเอเชีย-แปซิฟิกประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 18 หากนับเฉพาะอุษาอาคเนย์ จะอยู่ลำดับที่ 5 ตามหลังสิงคโปร์ซึ่งได้84 คะแนน (ไทยโพสต์. 2560. หน้า2)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Issue

Section

สาขาบุคคล องค์กร และสถาบันที่เกี่ยวกับการศึกษา