ความจำเสื่อมในยุคดิจิทัล
Abstract
ความหมายความจำเสื่อมในยุคดิจิทัล (Digital Dementia)หมายถึงการที่บุคคลยุคดิจิทัล หรือ เด็กที่เกิดในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันมีความสามารถในการจำ และการเรียนรู้ลดลง มีความจำไม่ดี หรือมีความจำเสื่อม อันเนื่องมาจากการดำเนินชีวิตที่พึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไปความเป็นมาคำว่าความจำเสื่อมในยุคดิจิทัล (digitaldementia) มาจากนักประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscientist) ชาวเยอรมัน ชื่อ แมนเฟรด สพิทเซอร์(Manfred Spitzer) ที่นำเสนอในหนังสือชื่อ “DigitalDementia” เมื่อ ค.ศ. 2012 โดยการตั้งข้อสังเกตว่า การที่คนในยุคดิจิทัลใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตมากเกินไป จนทำให้ความสามารถของสมองในการสร้างความคิดรวบยอดลดลง ทั้งส่งผลต่อปัญหาความทรงจำระยะสั้น แม้แต่ในการใช้คำศัพท์ ในการอ่านเขียน ก็ลดลง เพราะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการค้นหาสิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลา สพิทเซอร์ จึงเตือนให้ผู้ปกครองและครูตระหนักถึงปัญหานี้และหาทางรับมือกับปัญหาที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา งานวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โดย ซิลเวีย ฮาร์ท เฟรด (Sylvia HartFrejd) เมื่อปี ค.ศ. 2014 พบว่า ปัญหาความทรงจำของเด็กยุคดิจิทัล พบได้ในช่วงอายุ 18–39 ปีทั้งนี้ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีมากเกินไป จึงทำให้พัฒนาการทางสมองเสื่อมลง โดยมุ่งพัฒนาแต่สมองซีกซ้ายมากเกินไปและละเลยการใช้สมองซีกขวา นอกจากนี้เขายังสรุปว่า อาการที่พบจากDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
สาขาการศึกษาพิเศษ