Economic Benefits of Community Based Tourism (CBT) Case Study: The Red Lotus Lake, Udonthani
Abstract
บทคัดย่อ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนของกิจกรรมให้บริการขับเรือนำเที่ยวการท่องเที่ยวทะเลบัวแดงทุกท่าเรือ โดยการพิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) พบว่ามีค่าเป็นบวก ซึ่งหมายความว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยเฉพาะท่าเรือที่มีนักท่องเที่ยวมาก อย่างเช่น ท่าเรือบ้านเดียม และท่าเรือเชียงแหว ในกรณีท่าเรือบ้านเดียมพบว่าเรือใหญ่ใช้เวลาคืนทุน 1 ปี 8 เดือน ส่วนเรือเล็กคืนทุนเร็วกว่า 5 เดือน การประมาณผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภาพรวมจากการให้บริการขับเรือนำเที่ยวทะเลบัวแดงพบว่า รายได้สุทธิที่กระจายสู่ผู้ขับเรือประมาณ 380 คน ใน 6 ท่าเรือ คำนวณได้เท่ากับ 11,604,759 บาท/ปี ซึ่งเป็นผลกระทบเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวชุมชนทะเลบัวแดงโดยเฉพาะการให้บริการเรือนำเที่ยวก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจกระจายต่อชุมชนอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามความเสี่ยงในการลงทุนที่ทำให้รายได้สุทธิจากการขับเรือในแต่ละท่าเรือแตกต่างกันไป คือ จำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนเรือที่ให้บริการในแต่ละท่า ดังนั้นชุมชนและภาครัฐควรเน้นการบริหารจัดการให้การท่องเที่ยวทะเลบัวแดงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่บริหารจัดการโดยชุมชน โดยเน้นการดูแลระบบนิเวศให้มีความยั่งยืน เพื่อให้ความยั่งยืนทางรายได้และระบบนิเวศดำเนินไปทิศทางที่เกื้อกูลกัน คำสำคัญ: การท่องเที่ยวโดยชุมชน ทะเลบัวแดง การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนAbstract An investigation of the financial cost-benefit analysis of boat services around the Red Lotus Lake shows a positive net present value (NPV), which means the boat service investment is worthwhile. The two most profitable piers are Baan Diem and Chiang Wae, which have more tourists than the rest of the piers. The boat service's payback period in Baan Diem Pier accounts for one year and eight months for a big-size boat, while the payback period for a small-size boat is five months shorter. The estimation of total economic benefits of the boat service around the red Lotus Lake is approximately 11,604,759 Baht per year, allocated through approximately 380 boat drivers. The empirical result shows that the Red Lotus Lake’s boat service has clearly generated an economic benefit for the lake's communities. However, the variance in the number of tourists and boats at different piers presents an investment risk that may cause differences in net income. Therefore, the community and the government sector should focus on the management of the Red Lotus Lake as community-based ecotourism, with an emphasis on sustainable ecological care to ensure income and ecosystem sustainability go in a complementary direction. Keywords: Community-based Tourism (CBT), The Red Lotus Lake, Cost-benefit AnalysisDownloads
Download data is not yet available.