https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ECONSWU/issue/feed วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ (ECONOMICS AND PUBLIC POLICY JOURNAL) 2022-05-23T11:25:17+00:00 Open Journal Systems https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ECONSWU/article/view/14380 Private and Social Costs of Education in Technology from Elementary Education to Bachelor's Degree in Thailand 2022-05-23T11:25:17+00:00 กมลนัทธ์ มีถาวร kamonnatm@hotmail.com อรษา ตันติยะวงศ์ษา torasa22@hotmail.com <p> </p><p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong><strong> </strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนเอกชนและต้นทุนทางสังคมของการศึกษาสาขาเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) <br /> ในจังหวัดนครปฐม และนักศึกษาที่เรียนระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ <br /> เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยจากการสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างและใช้ข้อมูล<br /> ทุติยภูมิของหน่วยงานเกี่ยวข้องในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าครัวเรือนมีต้นทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับ ปวช. ระดับ ปวส. คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 106,358 บาทต่อ คน 135,200 บาทต่อ คน 141,553 บาทต่อคน 160,440 บาทต่อคน และ 114,219 บาทต่อคน ตามลำดับ ส่วนต้นทุนสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี และหลักสูตร 4 ปี มีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 416,826 บาทต่อคน 669,658 บาทต่อคน และ 931,206 บาทต่อคน ตามลำดับ ทั้งนี้ ต้นทุนรวมของครัวเรือนสำหรับการศึกษาสาขาเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับ ปวช. และระดับปวส. มีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 383,111 บาท 401,998 บาท และ 516,217 บาท ตามลำดับ ส่วนต้นทุนรวมสำหรับการศึกษาจนจบปริญญาตรีในประเทศไทย มีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 933,043 - 1,333,204 บาท ต้นทุนที่รัฐบาลรับภาระสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปวช. และ ปวส. มีมูลค่าประมาณ 20,000 - 25,000 บาทต่อคนต่อปี ส่วนการศึกษาระดับปริญญาตรีมีต้นทุนที่รัฐบาลรับภาระประมาณ 77,444 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนทางสังคมของการศึกษาระดับประถมศึกษาเท่ากับ 35,706 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนทางสังคมของการศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. และ ปวส. อยู่ระหว่าง 60,000 – 80,000 บาทต่อคนต่อปี ขณะที่ต้นทุนทางสังคมของการศึกษาระดับปริญญาตรีเท่ากับ 285,500 บาทต่อคนต่อปี</p> <p><strong> </strong></p><p><strong>คำสำคัญ: </strong>ต้นทุนทางสังคม ต้นทุนเอกชน ต้นทุนของการศึกษา</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purpose of this research was to analyze the private and social costs of education in technology from elementary education to bachelor's degree in Thailand. Data were collected from a sample group of students who attended elementary school, secondary school, vocational certificate and advanced vocational certificate in Nakhon Pathom province, and students studying for a bachelor's degree at King Mongkut's University of Technology North Bangkok, Bang Sue District, Bangkok. The primary data was collected by observing the behavior of the sample and using the secondary data of the relevant agencies during the fiscal year 2018.</p> <p>The results showed that present value of household’s private costs for primary education, lower secondary education, upper secondary education, vocational certificate, and advanced vocational certificate were 106,358 Baht per person, 135,200 Baht per person, 141,553 Baht per person, 160,440 Baht per person and 114,219 Baht per person, respectively. The present value of household’s private costs for a bachelor's degree, a 2-year continuing program, a 3-year continuing program, and a 4-year program were 416,826 Baht per person, 669,658 Baht per person and 931,206 Baht per person, respectively. The present value of household’s private costs for education in technology until graduating from upper secondary school, vocational certificate, and advanced vocational certificate were 383,111 Baht, 401,998 Baht and 516,217 Baht, respectively. The present value of household’s private costs for pursuing a Bachelor’s Degree were 933,043-1,333,204 Baht. The government’s costs for primary education, secondary education, vocational certificate, and advanced vocational certificate were approximately 20,000-25,000 Baht per person per year. Meanwhile, the government’s costs for a Bachelor’s Degree were approximately 77,444 Baht per person per year. The social cost of primary education was 35,706 baht per person per year. While the social costs of lower secondary education, upper secondary education, vocational certificate, and advanced vocational certificate were approximately 60,000 - 80,000 baht per person per year. Whereas the social cost of a bachelor's degree was 285,500 baht per person per year.</p> <p> </p> <strong>Keyword: </strong>social cost, private cost, cost of education<p> </p> Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ECONSWU/article/view/14381 Dimensions of Poverty and Root Causes of Inequality with Sustainability in Development 2022-05-23T11:25:17+00:00 โชคลาภ มั่นคง llllll121@hotmail.com <p> </p><p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong> </strong></p> <p>อดีตที่ผ่านมาทำให้เราได้เห็นภาพที่หลบซ่อนอยู่ในสังคม ปัญหาที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่เราคิด เป็นที่น่าหวาดกลัวและทุกคนพยายามหลีกหนีมัน แต่กลับอยู่ร่วมกับสังคมของเรามาอย่างยาวนาน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมกลับเลือกที่จะมองข้ามผ่านมันไป มีความคิดฝังลึกในเจตนคติว่าไม่สามารถแก้ไขมันได้ นั่นคือ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้ เนื่องจากความยากจน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันความเหลื่อมล้ำที่มากส่งผลให้การกระจายผลตอบแทนหรือโอกาสมีความแตกต่างกัน และนำไปสู่ปัญหาความยากจนได้ ความเหลื่อมล้ำและความยากจนจึงเป็นเหตุปัจจัยและผลลัพธ์ของกันและกัน การเข้าไปสัมผัสทำความรู้จักกับโลกอีกด้านหนึ่ง มองปัญหาและตั้งคำถาม การพัฒนาในแต่ละมิติของความยากจนตลอดจนถึงรากเหง้าของเหลื่อมล้ำ จากจุดเล็กๆ ค่อยๆ แก้ไปทีละจุด การแตกปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อยๆ ที่สามารถเข้าถึงได้ สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ได้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาอาจไม่สำเร็จในวันพรุ่งนี้ แต่ก็เป็นอนาคตอันไม่ไกลเกินเอื้อม (อาศัยความยั่งยืนในการพัฒนาหรือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง) เราไม่อาจบรรลุจุดหมายนั้นได้ด้วยการคิดแบบเกียจคร้าน การทำงานแบบทีละขั้นทีละตอนไม่เพียงจะต่อสู้กับความยากจนได้มีประสิทธิภาพ มากไปกว่านั้นคือ ยังเป็นหนทางที่ทำให้โลกเป็นที่น่าค้นหามากขึ้น (สร้างความรับรู้ใหม่) สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันได้ของคนในสังคม</p><p>คำสำสัญ : ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความยั่งยืนในการพัฒนา</p><p><strong>ABSTRACT</strong></p> <p>The past gives us a glimpse of the hidden image in society. Problems that are closer to us than we think it was terrifying and everyone tried to escape them. But has been with our society for a long time, which most people in society choose to overlook through it is deeply ingrained in the mentality that it cannot be solved, that is, the problem of poverty and inequality. Poverty and inequality are issues that cannot be completely separated from each other. Poverty is one of the causes of inequality in society. At the same time, large inequality results in a different distribution of rewards or opportunities. And lead to poverty Inequality and poverty are therefore factored and effects of each other. Getting to know the other side of the world Look at problems and ask questions. The development of each dimension of poverty as well as the root of the inequality, from a small point, gradually solved one by one, breaking the big problem into smaller problems. Access can produce great results. The problem may not be solved tomorrow but it's a future that's not out of reach. (Based on sustainability in development or continuous improvement) We cannot achieve that by lazy thinking. The step-by-step approach is not only effective in combating poverty. More than that It's also a way to make the world more interesting. (Create new awareness) create mutual understanding leading to the coexistence of people in society.</p> Keywords: Poverty, Inequality, sustainability in development<p> </p> Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ECONSWU/article/view/14382 The Effects of Aging Society on Consumer Market Trend in Thailand:Literature Revisited 2022-05-23T11:25:17+00:00 Nattaya Prapaipanich nattayapr@g.swu.ac.th Pacharaporn Ngamsapt nattayapr@g.swu.ac.th Pakathorn Rimsaitharn nattayapr@g.swu.ac.th <p><strong>Abstract</strong></p> <p>It is indisputable that Thailand demographic is experiencing a shift to a higher proportion of elderly persons. This creates changes in many sectors such as family structure, labor, finance and consumer market. This study is a literature revisited gathering data from Science Direct, Research Gate, Google Scholar and Bank of Thailand. The variables reviewed are physiological changes, cognitive capabilities and motivation, retirement planning and pension fund, government policies and inflation. The results suggest that the consumer market trend spawned from aging society will value healthy living, convenience, quality and cost-effectiveness, therefore we recommend businesses to invest in health items such as medicine and healthy food with low or no sugar and cholesterol, as well as elder friendly furniture and appliances such as doorknobs and latex mattresses. We also recommend further research that would assist in the making of effective government pension policies to protect the integrity of elderly’s buying power.</p> <strong>Keywords: </strong>Aging population, Consumer market trend Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ECONSWU/article/view/14383 The criticizing of the welfare card policy under the framework of public policy cycle 2022-05-23T11:25:17+00:00 ปติมา น้อยกูต patima.noi@mahidol.ac.th <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลต้องตระหนักในการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐถือเป็นหนึ่งในความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิพากษ์นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยเนื้อหาในบทความประกอบด้วยการอธิบายความเป็นมาและสาระสำคัญของนโยบาย การวิพากษ์นโยบายภายใต้กรอบของวงจรโยบายสาธารณะเพื่ออธิบายความซับซ้อน รวมถึงสาเหตุและผลกระทบในสามกระบวนการหลัก ๆ ของนโยบายสาธารณะ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการแรกคือการกำหนดนโยบาย (Policy Formation/Decision-Making) กระบวนการที่สองคือการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) และกระบวนการที่สามคือการประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) ทั้งนี้ ผู้เขียนได้สรุปผลเชิงบวกและเชิงลบของแต่ละกระบวนการนโยบาย ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงทิศทางของนโยบายในอนาคตไว้ในส่วนท้ายของบทความ</p><p><strong>คำสำคัญ: </strong>บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ,<strong> </strong>นโยบายประชานิยม, ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ</p><p><strong>Abstract</strong></p> <p>The problem of inequality in Thai society is becoming more serious. That is pressure for the government to formulate a continuous solution. The welfare card policy is one of the government’s efforts to solve poverty and reduce disparities in Thai society. This article aims to present a criticizing of the welfare card policy. The content in the article consists of explaining the history and essence of the welfare card policy. The policy criticism within the framework of the public policy process to explain the complexity. Including causes and effects in three main processes of public policy. The first process is the Policy Formation/Decision-Making. The second process is the Policy Implementation. And the third process is the Policy Evaluation. Furthermore, the author summarizes the positives and negatives of each policy process and display suggestions for improving future policies at the end of the article.</p> <strong>Keywords:</strong> The state welfare card, Populist Policies, Poverty and Inequality<p> </p> Copyright (c) https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ECONSWU/article/view/14414 บรรณาธิการ 2022-05-23T11:25:17+00:00 ณัฐญา ประไพพานิช nattayapr@g.swu.ac.th <p> </p> <p><a href="https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Srinakharinwirot_University_Logo.svg"></a> <strong> </strong></p><table cellspacing="0" cellpadding="0" align="left"><tbody><tr><td width="477" height="31"></td></tr> <tr><td></td> <td width="206" height="674" bgcolor="white"><table cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td><div class="shape"><p><strong>บรรณาธิการแถลง</strong><strong> </strong></p> <p>วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ (Economics and Public Policy Journal) หรือ EPJ ฉบับนี้ตีพิมพ์เป็นปีที่ 11 ฉบับที่ 22 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2563 โดยเป็นการตีพิมพ์ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยของนักวิชาการจากสถาบันต่าง ๆ โดยทุกบทความเป็นบทความทางเศรษฐศาสตร์ที่มีการนำเสนอแนวนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไปได้ ซึ่งวารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒนี้ ยินดีรับพิจารณาเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพทั้งที่เป็นบทความวิชาการ บทความวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทุกบทความจะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ที่มีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์เกี่ยวกับบทความที่พิจารณา วารสารมีกำหนดการตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับคือ มกราคม – มิถุนายน และ กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p> </p></div></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table> <p><strong> </strong></p> <br /> <p><strong>กองบรรณาธิการวารสาร</strong><strong> </strong></p> <p><strong>บรรณาธิการที่ปรึกษา</strong> <br /> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดุลย์ ศุภนัท<strong> </strong></p> <p><strong>บรรณาธิการ</strong><strong><br /> </strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐญา ประไพพานิช<strong> </strong></p> <p><strong>กองบรรณาธิการภายนอก</strong><strong><br /> </strong> ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์<strong> </strong>สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์<strong><br /> </strong> ศาสตราจารย์ ดร.ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์<strong> </strong>มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย<br /> รองศาสตราจารย์ ดร.จงรักษ์ หงส์งาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ ชัยพัฒน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ</p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ธนิน เอื้อศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์</p> <p>รองศาสตราจารย์ ดร.วิราภรณ์ โพธิศิริ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br /> รองศาสตราจารย์ ดร.อภิญญา วนเศรษฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลนัทธ์ มีถาวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า</p> <p>พระนครเหนือ<strong><br /> </strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจริญชัย เอกมาไพศาล<strong> </strong>สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์<strong><br /> </strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยานนท์ ภู่เจริญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัฒน์ พัฒนรังสรรค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<strong><br /> </strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัลลิกา สมพลกรัง มหาวิทยาลัยขอนแก่น</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งนภา โอภาสปัญญาสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ ศานติศาสน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p> <p>อาจารย์ ดร.พิชิต รัชตพิบุลภพ มหาวิทยาลัยบูรพา</p> <p><strong> </strong><strong> </strong></p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>กองบรรณาธิการภายใน</strong><br /> รองศาสตราจารย์ ดร.อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทรัตน์ ตั้งวิฑูรธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระ ตั้งธรรมรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชพันธุ์ เชยจิตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวลาภ สุขไพบูลย์วัฒน์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ<br /> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภนันทา ร่มประเสริฐ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล เฮงพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ<br /> อาจารย์ ดร.กวีพจน์ สัตตวัฒนานนท์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ<br /> อาจารย์ ดร.ดนัย ธนามี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>อาจารย์ ดร.ธงชาติ บวรธำรงชัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p>RUI HUI PU, Ph.D. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p><strong> </strong></p> <strong>กองจัดการและประสานงาน<br /> </strong> นางศิริพร ช่วยอุปการ Copyright (c)