การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษาท้าวิศวกรน้อย เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 A DEVELOPMENT OF STEM EDUCATION LEARNING PACKAGE ON FUN MATERIALS CHALLENGING LITTLE ENGINEERS TO DEVELOP SCIENTIFIC PROBLEM-SOLVING ABILITIES OF FOURTH-GRADE STUDENTS

Main Article Content

จุฑามาศ มงคลสุภา
สุธาวัลย์ หาญขจรสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพชุดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษา ท้าวิศวกรน้อย เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษา ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษาท้าวิศวกรน้อย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 144 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 31 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนที่มีการจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1)ชุดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษาท้าวิศวกรน้อย 2)แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษาท้าวิศวกรน้อย และ 3)แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษาท้าวิศวกรน้อย เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมมีคุณภาพความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X=4.86, S.D.= 0.23) 2) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษาท้าวิศวกรน้อย มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 21.334, p-value = .000)

Article Details

How to Cite
มงคลสุภา จ., & หาญขจรสุข ส. (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุหรรษาท้าวิศวกรน้อย เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4: A DEVELOPMENT OF STEM EDUCATION LEARNING PACKAGE ON FUN MATERIALS CHALLENGING LITTLE ENGINEERS TO DEVELOP SCIENTIFIC PROBLEM-SOLVING ABILITIES OF FOURTH-GRADE STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 195–210. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/16406
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

(NRC),N. R. C. (2012). Engineering Education for K-12:Understanding the Status and Improving the Prospects.8.

Akca, D., Tertimsiz, N., & Tasdemir, A. (2018). The effect of STEM-based teaching on the academic achievement of fourth grade students. Journal of Education and Training Studies, 6(10), 1-10.

Casey, B., & Arnek, J. T. (2019). The impact of STEM education on students' self-efficacy, interest, and achievement in STEM subjects. International Journal of STEM Education, 6(1).

กระทรวงศึกษาธิการ, ส. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2 ed.). บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2543). ชุดกิจกรรมการสอนและการฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรีประเสริฐ แสงศรีเรือง. (2563). ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 38(4), 89-92.

ธนาวัฒน์ น้อยไธสง. (2564). ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง วงจรไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(1), 146-147.

นันท์นภัส, พ. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 [ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้), มหาวิทยาลัยศรี- นครินทรวิโรฒ]. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_SLM/Nunnaphus_P.pdf

ปาลิตา สุขสำราญ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(3), 153-166.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80766/64305

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา) (Vol. 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับประถม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2558). กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.). (2559). คู่มือกิจกรรมสะเต็มศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1-6) (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.). สกสค. (ลาดพร้าว).

สุธิดา การีมี. (2561). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา. นิตยสาร สสวท, 46(210), 45-47.

สุธิดา การีมี. (2565). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา.นิตยสาร สสวท, 46(209), 23.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.