การพัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ THE DEVELOPMENT OF CHATBOT TO ENHANCE EFFECTIVENESS OF AUDIO VISUAL UNIT : MATHAYOMWATSING SCHOOL

Main Article Content

กรรวี เกตุสุริยวงศ์
นิพาดา ไตรรัตน์

Abstract

การศึกษาวิจัย  เรื่อง  “การพัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์” ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ ความคาดหวัง และความพึงพอใจที่มีต่องานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ 2) พัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์  3) ศึกษาประสิทธิภาพการบริการงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จากผู้ที่มาขอใช้บริการงานโสตทัศนศึกษา โดยนำกระบวนการวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Systems Development Life Cycle) หรือ SDLC ในรูปแบบ Agile SDLC Model มาใช้ในการพัฒนาแชทบอท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัย พบว่า (1) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังที่มีต่องานโสตทัศนศึกษาฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 ส่วนความพึงพอใจที่มีต่องานโสตทัศนศึกษาฯ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96 (2) แชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 (3) ผลการประเมินประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ หลังจากการใช้งานผ่านแชทบอท ของผู้บริหาร ครู และบุคลากร มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51

Article Details

How to Cite
เกตุสุริยวงศ์ ก., & ไตรรัตน์ น. (2023). การพัฒนาแชทบอทเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพงานโสตทัศนศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์: THE DEVELOPMENT OF CHATBOT TO ENHANCE EFFECTIVENESS OF AUDIO VISUAL UNIT : MATHAYOMWATSING SCHOOL. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 1–14. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15170
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Abu Shawar, และ Atwell. (2007). Chatbots: are they really useful? Language Technology and Computational Linguistics, 22(1), 29-49.

adpt. (2018). 6 ขั้นตอนการออกแบบแชทบอทเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า. สืบค้นจาก https://www.adpt.news/2018/05/02/6-points-design-good-chatbot-experience/

Alina. (2019). 11 Step Process for a Great Chatbot Design. Retrieved from https://www.userlike.com/en/blog/chatbot-design

Chiara Martino. (2019). Conversation Design Workflow: How to design your chatbot in 10 (basic) steps. Retrieved from https://medium.com/voice-tech-podcast/conversation-design-workflow-how-to-design-your-chatbot-in-10-basic-steps-721652b056d

Mila Slesar. (2021). How to Design a Chatbot: Creating a Conversational Interface. Retrieved from https://onix-systems.com/blog/how-to-design-a-chatbot-creating-a-conversational-interface

RMonlineservices. (2021). SDLC Model คือ อะไร? มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? สืบค้นจาก: https://www.rmonlineservices.com/article/13/sdlc-model

Vedran Kozic. (2021). How to Design a Conversational Chatbot. Retrieved from https://www.paldesk.com/design-conversational-chatbot/

กรสุวรรณ์ ศดิสสุวรรณกุล. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อบริหารจัดการครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา)) – มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2561. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/349/1/gs571130112.pdf

กานต์ แสนยาโต. (2561). ประสิทธิภาพในการให้บริการงานโสตทัศนูปกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ชัยภูมิ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

กุลธน ธนาพงศธร. (2528). ประโยชน์และการบริการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จามรี ศิริภัทร. (2549). ระบบการจัดการทางเทคโนโลยีการศึกษา = Management system in educational technology : ET 734 (ET 634). กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐาน : พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MINITAB SPSS และ SAS (พิมพ์ครั้งที่ 5). ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นพ มหิษานนท์. (2562). Chatbot คุย inbox ร้าน facebook ด้วยพนักงาน AI. (พิมพ์ครั้งที่ 1): นนทบุรี: คอร์ฟังก์ชั่น.

นิลวัฒน์ นิลสุวรรณ. (2562). พัฒนา Chatbot เพื่อการเผยแพร่สารสนเทศ. สืบค้นจาก https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/innovation2562/chatbot.pdf

บัญชา ทะไกรราช. (2554). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่ออุปกรณ์โสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ผลัฏฐา วิวัฒนชาติ, อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์, และ อุทิศ บำรุงชีพ. (2563). การพัฒนาระบบบริการออนไลน์งานเวชนิทัศน์และโสตทัศนศึกษา สําหรับบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 17(78), 1-8.

พงษ์เทพ สันติพันธ์. (2546). ความพึงพอใจของลูกค้าจากการใช้บริการสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

พิทักษ์ ชูมงคล. (2563, มกราคม-มิถุนายน). แบบจำลองเชิงโครงสร้างการยอมรับแช็ตบอทในการสื่อสารการตลาดของดิจิทัลเนทีฟไทย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 13(1), 94-113.

รุวัยดา อาบีดีน. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน (ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วันชัย ช่องดารากุล. (2538). แบบเสนอขอกำหนดให้ข้าราชการครู. สงขลา: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

วารุณี คุ้มบัว, และ กอบแก้ว บุญกลาง. (2559). การใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อสนับสนุนการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). Chatbot กับ บริการในโลกอนาคต. https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/793-chatbot-future

สมเกียรติ สรรคพงษ์. (2562). การส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สืบค้นจาก https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2019/08/16.-บทความวิชาการ-การส่งเสริมการใช้สื่อ-190862.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ = Systems analysis and design. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.