การพัฒนาโมเดลความผูกพันของพนักงานต่อองค์การของพนักงาน ในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย

Authors

  • ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ
  • สุพจน์ นาคสวัสดิ์
  • พูลพงศ์ สุขสว่าง
  • กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ

Abstract

Abstract The purpose of this study aimed to test the consistency of employee engagement model   by using empirical data. The study sample consisted of 225 employees who worked in a Japanese company located in Amata Nakorn Industrial Estate, Chonburi. The studied variables can be divided into 6 main variables: job fit, affective commitment, psychological climate, employee engagement, discretionary effort, and intention to turnover. Survey questionnaires were used.    The study results found that the employee engagement model developed for employees working in Japanese companies in Thailand was consistent with empirical data. Goodness of fit statistics were: chi-square test = 8.03, df = 5, p = 0.15, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, CFI = 1.00, and RMSEA = 0.052. The variables in the hypothetical model accounted for 78 percent of the total variance of result of employee engagement. Variables having a statistically significant positive direct effect on result of employee engagement were job fit, affective commitment, and psychological climate. Employee engagement also had positive direct effect on discretionary effort. On the other hand, employee engagement had negative direct effect on the intention to turnover. The study results  also found that job fit, affective commitment, and psychological climate had statistically significant indirect effects on discretionary effort, and intention to turnover through employee engagement. The signs on those indirect effects were positive and negative, respectively. Keywords: Employee engagement, Structural Equation Model, Japanese companies in Thailandบทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความผูกพันของพนักงานต่อองค์การที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 225 คน ตัวแปรที่ศึกษามี 6 ตัว ได้แก่ ความเหมาะสมของงาน ความยึดมั่นด้านจิตใจ บรรยากาศด้านจิตวิทยา ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ ความพยายามทุ่มเท และความตั้งใจที่จะลาออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LISREL 8.8 ผลการวิจัยแสดงว่า โมเดลความผูกพันของพนักงานต่อองค์การของพนักงานที่ปฏิบัติงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 8.03 ที่องศาอิสระเท่ากับ 5 ค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.15  ค่าดัชนี GFI AGFI และ CFI มีค่าเท่ากับ 0.99 0.95 และ 1.00 ตามลำดับ และค่า RMSEA เท่ากับ 0.052 นอกจากนี้ ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันของพนักงานต่อองค์การได้ร้อยละ 78 และจากการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของตัวแปรในโมเดล พบว่า ความเหมาะสมของงาน ความยึดมั่นด้านจิตใจ และบรรยากาศด้านจิตวิทยา มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ และความผูกพันของพนักงานต่อองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความพยายามทุ่มเท แต่ในทางตรงกันข้าม ความผูกพันของพนักงานต่อองค์การกลับมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อความตั้งใจ ที่จะลาออกของพนักงาน นอกจากนี้ ความเหมาะสมของงาน ความยึดมั่นด้านจิตใจ และบรรยากาศด้านจิตวิทยา      มีอิทธิพลทางอ้อม ผ่านตัวแปรความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ มายังความพยายามทุ่มเทของพนักงาน และความตั้งใจที่จะลาออกของพนักงาน โดยเป็นค่าอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก และเชิงลบ ตามลำดับ   คำสำคัญ: ความผูกพันของพนักงาน โมเดลสมการโครงสร้าง บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย 

Author Biographies

ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ

นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา  มหาวิทยาลัยบูรพา e-mail: nongya@yahoo.com. Tel.: 081-819-6010

สุพจน์ นาคสวัสดิ์

นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา  มหาวิทยาลัยบูรพา

พูลพงศ์ สุขสว่าง

อาจารย์ประจำ วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา  มหาวิทยาลัยบูรพา

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ

อาจารย์ประจำ  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Downloads

Published

2013-09-15

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์