การศึกษาผลของสมาธิที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจ

Authors

  • สุรพล ศรีบุญทรง

Keywords:

สมาธิ, อัตราเต้นของหัวใจ, ระบบประสาทอัตโนมัติ, เครือข่ายข้อมูล

Abstract

สัญญาณทางสรีรวิทยาอย่างเช่น อัตราการเต้นของหัวใจซึ่งถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัตินั้นบ่งบอกถึงสภาพสุขภาพของเจ้าของร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัย/พยากรณ์โรค และความเปลี่ยนแปลงทางสรีระหลายประการ ทำให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวางในหมู่นักวิจัยนานาชาติ มีการก่อตั้งเว็บไซท์เพื่อเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลสัญญาณทางสรีรวิทยาและ โปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ขึ้นมาอย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น เว็บไซท์ PhysioNet(http://www.physionet.org/) ภายใต้หน่วยงานสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ก็เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูลสัญญาณทางสรีรวิทยาที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในเครือข่ายวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติมาทดลองศึกษาวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้ หรือสร้างงานวิจัยใหม่ในลักษณะงานวิจัยต่อ ยอด ในบรรดาฐานข้อมูลที่มีอยู่มากมายในอินเทอร์เน็ตนั้น มีหลายงานวิจัยมุ่งศึกษาถึงผลดีของการทำสมาธิแบบชี่กง และแบบกัลดาลานี่ อันแสดงออกด้วย การเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลของการทำสมาธิแบบอานาปานสติ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำสมาธิซึ่งได้รับความนิยมในหมู่ชาวพุทธในประเทศไทย งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาถึงผลของสมาธิที่มีต่อการทำงานของหัวใจ เตรียมดำเนินการทดลองศึกษาถึงผลของการทำอานาปานสติที่ต่อระบบสรีรวิทยาของร่างกาย ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ในลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการไทย สามารถเข้ามาดาวน์โหลดข้อมูลสัญญาณทางสรีรวิทยา ไปใช้ศึกษาด้วยตนเองได้ต่อไปในอนาคต The relationship between the autonomic nervous system (ANS) and the physiological signal such as heart rate (HR) has been recognized for century. The ECG and others heart signals, therefore, have been used as indications in many clinical and physiological study. There are many research activities resource have been established to stimulate new investigations in physiological signal study. One of the most outstanding information resource is “PhysioNet”, which offers free access to the large collections of recorded physiologic signals and related open-source software via the web. (PhysioNet,a public service funded by the National Institutes of Health USA ). Among the abundance of research physiological data, some are done forstudying of the meditation effects to Autonomic Nervous System , showed by heartactivity such as ECG and HRV data. However, most of meditation study are limitedto Chinese Chi (or Qigong) and the Kundalini Yoga meditation techniques.The objective of this meta-research article is to study the effect of meditation to Heart Rate Variability(HRV) by downloading data from 2 databases of PhysioNet as the pilot study for ournear future project of Thai Buddhist’s Anapanasati effect on physiological signal.Theother objective is for feasibility study of Thai web-based resource, which are cooperatedby many health and educational service units, aims for physiological data supplying to public.

Downloads