พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

Authors

  • เครือวัลย์ เก้าเอี้ยน
  • กฤตกรณ์ ประทุมวงษ์
  • กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพการทำงาน ระยะเวลาทำงาน ภาวะสุขภาพ ภาวะเครียด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 451 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษาวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ระดับดี ร้อยละ 64.4 ระดับดีมาก ร้อยละ 29.8 ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพงาน ระยะเวลาการทำงาน การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระดับความเครียดต่างกัน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศชาย กลุ่มตัวอย่างอายุ 40-49 ปีมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่ากลุ่มตัวอย่างอายุ 20-29 ปี  กลุ่มตัวอย่างปริญญาตรีมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่ากลุ่มตัวอย่างปริญญาโทและเอก  กลุ่มตัวอย่างรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่าทุกกลุ่มรายได้   กลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาทำงาน 5 ปี มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาทำงาน 11-15 ปี   กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มแพทย์ พยาบาล เภสัชกร มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่ากลุ่มตัวอย่างในกลุ่มนักวิชาการ  และกลุ่มเจ้าพนักงาน  กลุ่มตัวอย่างที่มีความเครียดระดับปานกลางและระดับสูงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่ากว่าตัวอย่างในกลุ่มที่มีความเครียดระดับน้อย  กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีปัญหาสุขภาพมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับเจตคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

Downloads

Published

2013-03-21