ผลการฝึกความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอล
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการฝึกความความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 13-15 ปี จำนวน 40 คน ของโรงเรียนอู่ทอง และโรงเรียนอู่ทองศึกษาลัย ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และจัดกลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับฉลากเพื่อแบ่งกลุ่มๆละ 20 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกความคล่องตัว และกลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกความคล่องตัวที่มี พลัยโอเมตริกร่วม ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แบบทำสอบความคล่องตัวแบบอิลลินอยส์ (Illinois Agility Test) โดยทดสอบความคล่องตัว 2 วิธี คือ ทดสอบความคล่องตัวแบบไม่มีบอล และทดสอบความคล่องตัวแบบมีบอล ทั้งก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยการทดสอบค่า (t test Independent) วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One Way Analysis of Variance with Repeated Measures) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Downloads
Published
2013-03-21
Issue
Section
บทความวิจัย