พฤติกรรมการดูละครโทรทัศน์ ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อสำรวจพฤติกรรมการดูละครโทรทัศน์ของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ตามตัวแปร เพศ ชั้นปีการศึกษา และคณะวิชาที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 254 คน (ชาย 202 คน และหญิง 52 คน) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 พฤติกรรมการรับชมละครโทรทัศน์ ตอนที่ 3 พฤติกรรมก่อนรับชม (ด้านแรงจูงใจ) พฤติกรรมระหว่างรับชม (ด้านการรับรู้) และพฤติกรรมภายหลังรับชม (ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) ละครโทรทัศน์ มีลักษณะเป็นมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี มีพฤติกรรมการรับชมละครโทรทัศน์ ดังนี้นักศึกษาส่วนใหญ่ชอบดูละครเรื่องยาวหลายตอนจบ โดยชอบดูละครตลกเบาสมอง ช่วงเวลาที่ชมละครโทรทัศน์ คือ ช่วงเวลา 18.01 – 22.30 น. ความถี่ในการชมละครโทรทัศน์ต่อสัปดาห์ คือ ทุกวัน ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับชมละครโทรทัศน์คือ บทละคร เนื้อเรื่อง ประโยชน์ที่ได้รับจากละครโทรทัศน์ คือ นำข้อคิดไปใช้ในการต่อสู้ชีวิตได้ สถานีโทรทัศน์ที่รับชมละครโทรทัศน์ คือ ไทยทีวีสีช่อง 3 ช่องทางการรับชมละครโทรทัศน์ คือ โทรทัศน์ และชอบรับชมละครไทยมากที่สุด2. นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมก่อนรับชม (ด้านแรงจูงใจ) พฤติกรรมระหว่างรับชม (ด้านการรับรู้)และพฤติกรรมภายหลังรับชม (ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) ละครโทรทัศน์ อยู่ในระดับปานกลางDownloads
Published
2013-03-21
Issue
Section
บทความวิจัย