ยุทธศาสตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ
Abstract
การศึกษาเรื่องยุทธศาสตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ ความพร้อม ตลอดจนข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรค และยุทธศาสตร์ของภาครัฐในการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาทีมชาติในอดีตและปัจจุบัน ก่อนนำเสนอยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการนำวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อการพัฒนานักกีฬาทีมชาติไทยที่เหมาะสม และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (QUALITATIVE RESEARCH) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ( IN-DEPTH INTERVIEW) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (KEY INFORMANTS) ที่เป็นผู้บริหารระดับสูง นักกีฬา ผู้ฝึกสอน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนาทีมชาติ จำนวน 17 ท่าน และดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (QUANTITATIVERESEARCH) เพื่อตรวจสอบความคิดเห็น (VERIFICATION) และลำดับความสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ ด้วยการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เกี่ยวข้องและมีอิทธิพลกับยุทธศาตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนาทีมชาติ จำนวน 493 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการนำยุทธศาสตร์มาใช้ คือการขาดงบประมาณจากภาครัฐ และการสนับสนุนจากภาคเอกชน ทั้งด้านวิชาการ อุปกรณ์ ฐานข้อมูล และงานวิจัยกีฬา เรื่องการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาในการพัฒนานักกีฬาทีมชาติ ยังมีความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น จิตวิทยาการกีฬา ชีวกลศาสตร์ สรีรวิทยา โภชนาการศาสตร์ และกีฬาเวชศาสตร์รวมถึงการบริหารจัดการเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการประสานงานไปในทิศทางเดียวกัน งบประมาณและอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอและนโยบายของภาครัฐขาดความต่อเนื่อง และพบว่า ปจั จัยแห่งความสำเร็จคือ นโยบายระดับชาติ การส่งเสริมการพัฒนานักกีฬา บุคลากรที่มีความรู้ด้านกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬา หลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนานักกีฬา เครือข่ายความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน สรุปได้ว่ายุทธศาสตร์การนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาทีมชาติ คือยุทธศาสตร์ประดับดาวพัฒนาศักยภาพนักกีฬาทีมชาติ “ 6 S: STARS STRATEGIES ”ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการพัฒนานักกีฬาแห่งชาติยุทธศาสตร์ที่ 2 การแสวงหานักกีฬาทีมชาติไทยด้วยหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างระบบการคัดเลือกนักกีฬาทีมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริม และทดสอบนักกีฬาทีมชาติอย่างมีมาตรฐานยุทธศาสตร์ที่ 5 การสนับสนุนนักกีฬาทีมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างความสำเร็จให้นักกีฬาทีมชาติ จากการตรวจสอบโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ พบว่าทั้งผู้บริหารกีฬาระดับชาติ นักกีฬาทีมชาติ ผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินผู้จัดการทีมและผู้ช่วย ทีมแพทย์และนักวิชาการ กรรมการบริหารสมาคมเห็นด้วยมากที่สุดในยุทธศาสตร์ที่1,2,3 เห็นด้วยมากในยุทธศาสตร์ที่ 4,5 ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 6 เห็นด้วยปานกลางDownloads
Published
2012-06-25
Issue
Section
Research