ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเสพสารระเหยของเยาวชน ที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขต 5 จังหวัดอุบลราชธานี
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบ Case – Control Study เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเสพสารระเหย และปจั จัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเสพสารระเหยของเยาวชนที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขต 5 จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเยาวชนเพศชายที่เสพสารระเหย ที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนเขต 5 จังหวัดอุบลราชธานี (Case) 67 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ไม่เคยเสพสารระเหยในโรงเรียนขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (Control) 115 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชัน้ ภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ประยุกต์ตามกรอบแนวคิด PRECEDE วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบสองค่า ผลการวิเคราะห์มีดังนี้1. พฤติกรรมการเสพสารระเหย กลุ่มตัวอย่างใช้กาว ทินเนอร์และเบนซิน ร้อยละ 68.65,14.92 และ 13.43 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.08 มีวิธีการเสพโดยการใส่ถุงพลาสติก ร้อยละ 35.82 เสพติดต่อกันนาน 1 วัน ร้อยละ 43.28 เสพวันละ 3 ครัง้ และร้อยละ 43.28 เสพครัง้ ละไม่เกิน 1 ชั่วโมง 2. ผลการทดสอบตามสมมติฐาน พบว่า อายุและโอกาสในการสัมผัสสารระเหย สามารถร่วมอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการเสพสารระเหยของเยาวชนได้ร้อยละ 52.70 (Nagelkerke R2 = 0.527 ) และพบว่าอายุและโอกาสในการสัมผัสสารระเหยส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสในการเสพสารระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Downloads
Published
2012-06-22
Issue
Section
Research