ผลการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลทีมชาติไทยและ นักกีฬารักบี้ฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย

Authors

  • เรวัฒน์ ท้าวน้อย
  • ถนอมศักดิ์ เสนาคำ
  • สุรเชษฐ์ เลิศถิรพันธุ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของหัวใจ โดยใช้การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ในกลุ่มนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิงและศึกษาความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการหัวใจหนาตัวในนักกีฬาและโรคหัวใจโตแบบหนาตัว ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 41 คน อายุระหว่าง 18-30 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับของการเล่นกีฬารักบี้ฟุตบอลได้แก่ นักกีฬารักบี้หญิงทีมชาติไทยจำนวน 14 คน นักกีฬารักบี้หญิงระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 12 คน และบุคคลหญิงสุขภาพดี (กลุ่มควบคุม)จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะพักโดยเทคนิค Two-dimensional guideM-mode และPulse-wave Doppler mode ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเอฟเฟ่ โพสฮอค กำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า1) ตัวแปรทางกายภาพและทางคลินิกของหัวใจพบว่า ค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (DBP) ของกลุ่มนักกีฬาทีมชาติต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก (RHR)ของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลทัง้ สองกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052) ตัวแปรทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของหัวใจพบว่าระหว่างกลุ่มนักกีฬาทีมชาติและทีมระดับมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบขนาดห้องหัวใจซ้ายบน (LA) ของกลุ่มนักกีฬาทีมชาติโตกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมวลรวมของหัวใจห้องซ้ายล่าง (LVM) ของกลุ่มนักกีฬาทีมชาติมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053) ผลการประเมินความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการหัวใจหนาตัวในนักกีฬา (Athlete ‘s heart syndrome) อยู่ในระดับปกติ แต่พบนักกีฬา 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.6 ที่มีความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจมากกว่า 15 มิลลิเมตร4) ผลการตรวจด้วยเทคนิค Pulse-wave Doppler mode พบนักกีฬา 6 คนมีลิ้นหัวใจด้านขวารั่ว (Tricuspid regurgitation) ระดับเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 23การฝึกกีฬารักบี้ฟุตบอลอย่างหนักเป็นระยะเวลานานส่งผลทำให้นักกีฬาทีมชาติมีการปรับตัวของระบบหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าบุคคลทัว่ ไป การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจมีประโยชน์ในการประเมินทางด้านกายวิภาคและสรีรวิทยาของหัวใจและช่วยคัดกรองความผิดปกติของระบบหัวใจในนักกีฬา

Downloads

Published

2012-06-22