พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1
Abstract
การวิจัยครัง้ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เพศ อาชีพของมารดา ระดับการศึกษาของมารดา รายได้ของครอบครัวต่อเดือน และจำนวนสมาชิกในครอบครัว ที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน (Proportional Stratified Sampling) เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 จากโรงเรียนอนุบาลยะลาและโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 300 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ด้วยสถิติทดสอบเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. อาชีพของมารดาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี รายได้ของครอบครัวต่อเดือน อยู่ระหว่าง 10,000 -20,000 บาทและมีสมาชิกในครอบครัว 4-5 คน2. ส่วนผลการวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองทัง้ 3 ด้านของนักเรียนพบว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 56.5 มีเจตคติต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับดีคิดเป็นร้อยละ 90.9 และนักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวม อยู่ในระดับทำบ่อยครัง้3. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองพบว่า นักเรียนหญิงมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองดีกว่านักเรียนชาย เช่นเดียวกันกับระดับการศึกษาของมารดาที่ต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนทั้ง 3 ด้านคือ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง เจตคติต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง พฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.054. เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองรายคู่ พบว่าปัจจัยด้านระดับการศึกษาสูงสุดของมารดามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองทั้ง 3 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการวิจัยดังกล่าวสรุปได้ว่าการปลูกฝงั ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโรงเรียนและครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูสุขภาพตนเอง เจตคติและพฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพตนเอง จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และสติปัญญา ดังนั้น โรงเรียน ผู้ปกครอง จึงควรจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มีมากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีของเยาวชนของชาติต่อไปDownloads
Published
2012-06-22
Issue
Section
Research