การศึกษากระบวนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด : กรณีศึกษาจังหวัด ตรัง
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ และปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยการวิจัยครัง้ นี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับผิดชอบงานโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๕๗ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ : หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน ภาคีเครือข่ายระดับตำบล คณกรรมการ/คณะทำงาน และประชาชน บ้านห้วยนาง หมู่ 2 ตำบลห้วยนาง อำเภอห้วยยอด และบ้านไสบ่อ หมู่ 2 ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรังผลการศึกษา พบว่า จังหวัดตรังมีกระบวนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่1.สร้างทีมดำเนินงาน 2.ศึกษาข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน 3.จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน 4.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของประชาชน 5.เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 6.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมดำเนินงาน7. ประเมินการพัฒนาหมู่บ้านการดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านส่งผลให้หมู่บ้านเป้าหมาย มีสถานที่การออกกำลังกาย ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเอง มีแปลงผักรวมของหมู่บ้าน หมู่บ้านมีสถานที่ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การบริโภคผัก และผลไม้สดปลอดสารพิษ ลดอาหารไขมัน และการออกกำลังกาย หมู่บ้านมีการจัดกิจกรรม และส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคผักและผลไม้สดปลอดสารพิษ ลดอาหารไขมัน และการออกกำลังกาย กระบวนการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดส่งผลให้ประชาชนในหมู่บ้านทั้ง 2 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลดอาหารไขมัน และการออกกำลังกาย เพิ่มขึ้น ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯได้แก่ นโยบายของผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารให้ความสำคัญ การบูรณาการงานระดับจังหวัด อำเภอ และตำบลการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกระดับ การสนับสนุนทรัพยากร และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความเข้มแข็งของคณะกรรมการหมู่บ้าน การที่ประชาชนให้ความสำคัญกับโครงการฯ ร่วมพัฒนาหมู่บ้าน และร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และที่สำคัญประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน อันส่งผลให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มมากขึ้นDownloads
Published
2012-06-22
Issue
Section
Research