การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดและค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนของแบบทดสอบเรียงความวิชาภาษาไทย จำแนกตามจำนวนข้อสอบและจำนวนผู้ตรวจ ประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2,883 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 120 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบทักษะการเขียนเรียงความวิชาภาษาไทย จำนวน 3 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.42 – 0.51 ค่าความยาก – ง่ายตั้งแต่ 0.45 - .057 และ ค่าความเชื่อมั่น 0.71 ผลการวิจัยพบว่า เมื่อจำนวนผู้ตรวจคงที่ ถเพิ่มจำนวนข้อสอบ ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดเพิ่มขึ้น และค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อจำนวนข้อสอบคงที่ ถ้าเพิ่มจำนวนผู้ตรวจค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดเพิ่มขึ้น และค่าความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คำสำคัญ : แบบทดสอบเรียงความ จำนวนผู้ตรวจ จำนวนข้อสอบ ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดThe purpose of this research was to compare the generalizability coefficient andthe error variance of a Thai essay test with different numbers of items and raters. Thetarget population consisted of 2,883 Prathomsuksa 6 students in Kanchanaburi PrimaryEducational Service Area Office 1 of academic year 2012. The sample consisting of 120students was randomly selected using the multistage sampling technique. The instrumentwas the Thai essay test with discrimination of 0.42-0.51, difficulty of 0.45-0.57 andreliability of 0.71. The results revealed that when the number of raters was fixed and thenumber of test items was increased, the generalizability coefficient increased but theerror variance decreased at a significance level of 0.01. When the test items were fixedand the number of raters was increased, the generalizability coefficient increased but theerror variance decreased at a significance level of 0.01.Keywords: thai essay test, number of raters, number of items, generalizability theory