ประสิทธิผลของ “ต้นแบบการอ่าน” ตาม “แนวคิดพี่อาสาชวนน้องแบบบูรณาการ” : การศึกษาระยะยาวด้านการส่งเสริมการอ่านของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Authors

  • วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล

Abstract

การวิจัยระยะยาวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลระยะยาวเบื้องต้นและประสิทธิผลของ”ต้นแบบการอ่าน” ตามแนวคิด “พี่อาสาชวนน้องแบบบูรณาการ” ที่พัฒนาต่อยอดจากแนวคิด “พี่อาสาชวนน้อง” ในการส่งเสริมการอ่านของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จาก “โครงการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการอ่านของกรุงเทพมหานคร” แผนแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองภาคสนามแบบมีกลุ่มควบคุมแบบวัดก่อนและกลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 คน ทำหน้าที่เป็น “ต้นแบบการอ่าน” ตาม “แนวคิดพี่อาสาชวนน้องแบบบูรณาการ” ที่แต่ละคนชวนน้องนักเรียนรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 4 เป็นเครือข่าย 2 คน ได้กลุ่มทดลองเป็นน้องเครือข่าย 32 คน และ กลุ่มควบคุมที่ไม่มี “ต้นแบบการอ่าน” เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 4 ระดับละ 15 คน รวม 30 คน ตัวแปรจัดกระทำคือการมี “ต้นแบบการอ่าน” ตามแนวคิด “พี่อาสาชวนน้องบูรณาการ” และตัวแปรตาม ได้แก่ เวลาที่ใช้เฉลี่ยต่อวันในการอ่านหนังสือ เวลาที่ใช้ในการดูโทรทัศน์ เวลาที่ใช้ในการเล่นคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน และ การประเมินความสามารถในการอ่าน 4 ประเด็น คือ การอ่านหนังสือคล่อง การเข้าใจเรื่องที่อ่านการอ่านได้อย่างที่ตั้งใจ และการอ่านได้จนจบ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และติดตามผลการวัด 5 ครั้ง ตลอดปีการศึกษา 2556 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนเวลาที่ใช้ในการดูโทรศัทน์และเล่นคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนระหว่างต้นปีการศึกษากับปลายปีการศึกษาของกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันโดยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการประเมินความสามารถในการอ่านทั้ง 4 ประเด็น พบว่า กลุ่มทดลองมีการประเมินความสามารถตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าการใช้ “ต้นแบบการอ่าน” นั้นมีประสิทธิผลในการส่งเสริมการอ่านได้ คำสำคัญ : การส่งเสริมการอ่าน ต้นแบบการอ่าน การสอนงาน การศึกษาระยะยาวThe purpose of this research were to preliminary longitudinal study and theeffectiveness of çreading modelingé based on çThe integrated concept of mentor inducesmenteesé that was an extension from the concept çmentor induces menteesé to promotethe reading of children and youths in Bangkok school, in the çBangkok Read for LifeProjecté. The research design was a field experiment using a pretest-posttests, control group design. The research sample consisted of 16 grade 5 students acting as çreadingmodelingé based on çThe integrated concept of mentor induces menteesé, each of whominduced 2 grade 3-4 students acting as network mentees. The experimental groupconsisted of 32 mentees; whereas the control group consisted only 30 grade 3-4 studentswithout any mentor. The intervention was the çreading modelingé based on the çTheintegrated concept of mentor induces menteesé, The dependent variables were averagedaily times on time spent reading, television watching time, computer and smart-phoneusing time, and reading ability measuring by 4 factors of reading fluency, storyunderstanding, reading with intent as expected, and comprehensive reading. Data wereconsecutively collected through questionnaires with 5 follow up measurements in theacademic year 2016. Longitudinal data were analyzed using repeated measured ANOVA.The results revealed the interaction effect between the times spent reading and the group(experimental group and control group). The experimental group has markedly increased.The experimental groupûs time spent watching television and playing computer or smartphone between the beginning and the end of school year were statistically significantdecreased. Whereas the experimental groupûs members had assessed their abilities toread all of the four issues as statistically significant increased, all of which indicated thatthe usage of the reading model based on the integrated concept of mentor induces menteeshad been effective in promoting the studentsû reading.Keywords: reading promotion, reading modeling, mentoring, longitudinal study

Downloads