การสร้างแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎี: แนวทางการสร้างโมเดลความคิดในระบบการประเมินที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ
Abstract
ระบบการประเมินที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันคือ โมเดลความคิด ค่าสังเกตหรือข้อมูล และการแปลความหมายผลวิเคราะห์ข้อมูลที่เชื่อมโยงกลับไปยังโมเดลความคิดในตอนต้นของระบบการประเมิน โดยทั่วไป โมเดลความคิดเป็นองค์ประกอบที่ถูกละเลยในระบบการประเมินทางการศึกษาและจิตวิทยา ทำให้ค่าสังเกตหรือผลวิเคราะห์ข้อมูลไม่สามารถแปลความหมายและสรุปอ้างอิงเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อนำเสนอวิธีสร้างโมเดลความคิดที่เรียกว่าการสร้างแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎี โดยมีแนวคิดสำคัญคือ การจำแนกความสามารถแฝงหรือคุณลักษณะแฝของบุคคลตามระดับหรือปริมาณของการมีความสามารถแฝงนั้นหรือคุณลักษณะแฝงนั้นภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎี โดยใช้ผลการตอบข้อคำถามที่สร้างขึ้นตามโมเดลความคิด การสร้างแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน มีขั้นตอนที่เป็นระบบชัดเจนและไม่ทำให้ระบบการประเมินที่มีอยู่เดิมยุ่งยาก และยังสามารถประยุกต์ใช้ในระบบการประเมินแทบทุกประเภท การวัดหรือผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงโมเดลความคิดบนพื้นฐานของทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ปรับปรุงข้อคำถามให้สอดคล้องกับโมเดลความคิด และปรับปรุงเกณฑ์การให้คะแนนให้มีความเป็นปรนัยมากขึ้น รวมถึงเป็นหลักฐานสำคัญในกระบวนการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของการประเมินอีกด้วยDownloads
Published
2015-01-29
Issue
Section
มุมวิจัยและสถิติ