ในโลกที่เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและช่วยให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ การได้ครอบครองวัตถุอันเป็นที่ปรารถนานอกจากจะช่วยให้บุคคลได้รับความสุขแล้ว ยังมีส่วนในการสร้างความปลอดภัยและเสริมความรู้สึกมีอำนาจจากการได้มีสิทธิเป็นเจ้าของ โลกที่การจับจ่ายใช้สอยถูกเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ การกระตุ้นให้คนได้ใช้เงินเพื่อพัฒนากลไกทางการผลิตเป็นสิ่งที่เราไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ สินค้าซึ่งเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการนั้นก็จำเป็นที่จะต้องถูกสร้างมูลค่า ทั้งเพื่อให้สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อและทั้งเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากสินค้าอื่นๆ แต่ภายใต้การให้ค่าและความสำคัญกับวัตถุตามกรอบคิดของเศรษฐกิจ ปรากฏการณ์ของการหลงใหลคลั่งไคล้สินค้าถึงขั้นเทิดทูนบูชาของบางกลุ่มบุคคล จนกระทั่งใช้สินค้าเหล่านั้นเป็นเครื่องมือและสัญลักษณ์เพื่อกระตุ้นเร้าความรู้สึกทางเพศกลับเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานในประวัติศาสตร์อย่างน่าแปลกใจ ในมุมมองที่สังคมตัดสินบุคคลผู้มีพฤติกรรมเช่นนั้นว่าประหลาดถึงขั้นเพี้ยนและวิปริต การได้ลองตั้งคำถามเพื่อได้เข้าใจว่าสาเหตุมาจากสิ่งใด เป็นเพราะพวกเขาอ่อนแอ เจ็บป่วย หรือว่าแท้จริงแล้วพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นก็ไม่ต่างจากการต่อต้านกลไกทางเศรษฐกิจคำสำคัญ: เครื่องแต่งกาย, แฟชั่น, เพศ, เพศสภาพ, ทุนนิยมAbstract In the world that everything money can buy. The possession of all the objects we desire giving us pleasure and satisfaction. Meanwhile, living in a society that both politic and economic pushing people to spend more money under the context of strengthen the nation, the propaganda in adding extra value into everything in our life becomes common and necessary. This is the reason why in capitalism world, we attract to something because of its beauty made by others, and we decide to purchase it because of the recommendation also made by others. The strange phenomenon of Fetishism that can trace back in time, shows us the power of objects over human, we adore them, and we worship them and for some people the objects becomes symbols of sexual representation. In spite of judging them as weirdo and sicko, if we try to understand how this phenomenon could happened, we might finally get the answer whether they are sick or it is all an act against the capitalism world we are living in.Keywords: Clothing, Fashion, Sex, Gender, Materialism
Author Biography
พันธุ์ชนะ สุนทรพิพิธ
สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒDepartment of Performing Arts, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University, Thailand.