การสร้างแบบจำลองมาริมบาเพื่อการเรียนการสอน วิชาทักษะดนตรีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโดยใช้แนวคิดสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ : Development of Marimba Model for Teaching Music Skill to Secondary School Students by Using Throndike's Connectionism Theory
Keywords:
แบบจำลองมาริมบา, แบบจำลอง, มาริมบา, ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์, การเรียนการสอน, วิชาทักษะดนตรี, Marimba models, model, marimba, Thorndike’s connectionism, teaching and learning, Music skills subjectAbstract
จากประสบการณ์สอนวิชาดนตรีของผู้วิจัยพบว่า นักเรียนที่ต้องการเลือกปฏิบัติเครื่องมือมาริมบานั้นมีมาก แต่ในประเทศไทยมีการใช้เครื่องนี้บางโรงเรียนเท่านั้น เพราะราคาของมาริมบาค่อนข้างสูงมาก ซึ่งเป็นราคาที่บางโรงเรียนไม่สามารถซื้อได้ เพราะงบประมาณที่จะซื้อเครื่องนี้สามารถนำมาพัฒนาโรงเรียนในส่วนอื่นอาจมีประโยชน์มากกว่า ผู้วิจัยจึงประดิษฐ์แบบจำลองมาริมบาขึ้นมา เพื่อศึกษาว่านักเรียนสามารถใช้แบบจำลองมาริมบาในการเรียนการสอนได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของแบบจำลองมาริมบานั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน 2. การหาค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาทักษะดนตรี โดยใช้ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ในการเรียนการสอนเรื่องการปฏิบัติเครื่องดนตรีมาริมบา (E1/E2 ) มีค่าเท่ากับ 80.55/80.88 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่าการใช้แบบจำลองมาริมบาบวกกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะในการปฏิบัติดนตรีได้จริงนอกจากนั้น ระหว่างที่ฝึกปฏิบัติ ครูผู้สอนจะเป็นผู้ที่คอยแนะนำแนวทางให้กับผู้เรียนอยู่ตลอด มีการชมเชยสำหรับสิ่งที่ทำถูกต้องเหมาะสมแล้วและชี้แนะให้ปรับปรุงสำหรับที่ที่ยังต้องการการแก้ไข เป็นไปตามกฎแห่งความพอใจ กล่าวคือผู้เรียนจะเลือกเอาผลที่น่าพึงพอใจมาปฏิบัติต่อไป ส่วนสิ่งใดที่ไม่พึงปรารถนา พฤติกรรมนั้นๆ ก็จะถูกตัดทิ้งไป ผู้เรียนจึงปฏิบัติการเรียนรู้ต่อไปด้วยความพึงพอใจคำสำคัญ: แบบจำลองมาริมบา, แบบจำลอง, มาริมบา, ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์, การเรียนการสอน, วิชา ทักษะดนตรีAbstractThough the number of Marimba enthusiast had overtaken the amount of available instruments in school, the selection of school was limited understandably due to the high price of it. With this reason, the researcher had assembled a faux marimba to study the efficiency of the teaching and learning music skills by using marimba with the support of Thorndike’s connectionism. The experiment results in: 1. The model is efficient with maintained according to standard. 2. The efficiency of the teaching and learning music skills by using marimba with the support of Thorndike’s connectionism was 80.55/80.88, exceeded the expected criterion. According to the result, marimba model could be used in actual education with the support of the instructional design based on Thorndike’s connectionism, improving students’ musical performance. During the experiment, instructor deployed constant communication with a balanced rewarding system and careful suggestion which follows a strategy of Thorndike’s law of effect which determines that learner will continue to perform rewarding tasks while gradually leave out unsatisfactory habits.Key words: Marimba models, model, marimba, Thorndike’s connectionism, teaching and learning, Music skills subjectDownloads
Published
2018-07-11
Issue
Section
บทความวิจัย