การวิจัยเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านแนวแม่น้ำเจ้าพระยา : A study of folk ceramics along the Chao Phraya river.
Keywords:
เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน, แนวแม่น้ำเจ้าพระยา, folk ceramics, along ChaoPraya riverAbstract
การศึกษาวิจัยการผลิตเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านแนวแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งภายในชุมชนมีแหล่งวัตถุดิบดินเหนียว และทรายละเอียดจากแม่น้ำปิง ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน อีกทั้งมีเชื้อเพลิงภายในชุมชนที่มีราคาถูก จึงทำให้ยังคงมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ดีและมีราคาถูก เครื่องปั้นดินเผาบ้านคลองสระบัว ตำบลคลองสระบัว อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำท่วมเป็นประจำ ทำให้เตาเผาและเครื่องมือเสียหายอีกทั้งไม่มีแหล่งวัตถุดิบ และแหล่งเชื้อเพลิงภายในชุมชน ปัจจุบันไม่มีการผลิต เครื่องปั้นดินเผาอิฐมอญ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่น้ำจะท่วมทุกปี มีแหล่งวัตถุดิบในชุมชน ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการเผา จึงทำให้มีการผลิตที่มีคุณภาพและต้นทุนการผลิตต่ำ ยังคงมีการผลิตจนถึงปัจจุบัน เครื่องปั้นดินเผาปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายในชุมชนไม่มีแหล่งวัตถุดิบและเชื้อเพลิงต้นทุนการผลิตสูง ยังคงมีการผลิตถึงปัจจุบัน เครื่องปั้นดินเผาประเภทลายวิจิตรเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำท่วมทุกปี ไม่มีแหล่งวัตถุดิบภายในชุมชน ปัจจุบันเหลือเพียง 2 รายที่ยังคงผลิตเพื่อเป็นการสาธิตแก่นักท่องเที่ยว เครื่องปั้นดินเผาบางตะนาวศรี ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ไม่มีวัตถุดิบบริเวณสถานประกอบการ ปัจจุบันสภาพชุมชนเป็นหมู่บ้านจัดสรรที่มีบ้านเรือนหนาแน่น ซึ่งปัจจุบันไม่มีการผลิต เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านที่ไม่มีการผลิตแต่ยังคงมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเหมาะแก่การอนุรักษ์ เช่น เครื่องปั้นดินเผาสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัด ปัจจุบันไม่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาไปแล้วคงเหลื่อเพียงซากเตาเผาโบราณ จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้สถานศึกษาทางประวัติศาสตร์เตาเผาตุ่มสามโคก คำสำคัญ: เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน; แนวแม่น้ำเจ้าพระยา Abstract A study of folk ceramics along the Chao Praya river. This research is aimed to study the community, who’s produces the folk ceramics (pottery) along ChaoPraya river, which there have the raw materials such as clay and fine sand for making pottery also low cost of firing as well for instances, Baan Kang’s pottery, Muang district, Nakornsawan province. Baan KlongsraBau’s pottery, KlongsraBau, Muang district, Ayodhya province which this area is flooding every year. It’s damaged all materials and kiln and this community is not produced the pottery any more. Even some are area, there are faced lorth flooding but still produce there pottery such as Mon brick, BangBaal districk, Ayodhya province. Pakkled’s pottery, Pakkled district, Nonthaburi province. KorKled fine pottery, Pakkled district, Nonthaburi province even this community still facing flooded every year and there is no material to produced, only two families are demonstrating the pottery for tourist. Also Bang TanowSri pottery, SuanYai, Muang district, Nonthaburi province, there is no produced the pottery because this area is surrounding with new communities and very densest. Historically, the folk ceramics (pottery) has the contexts and mode of living with community and must be preserved, for instance SamKhok pottery, Samkhok district, Pathumthani province which its historical blister even it’s decomposed but the historical value, the one must be learn from history of SamKhok blister.Keyword: folk ceramics; along ChaoPraya riverDownloads
Published
2019-01-15
Issue
Section
บทความวิจัย