เทคนิคสำคัญสำหรับการบรรเลงเครื่องสายตะวันตกที่ผู้บรรเลงไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบสต้องศึกษาและฝึกฝน นอกจากการเรียนรู้การกดนิ้วมือซ้ายที่ต้องมีความแม่นยำ มีความคล่องตัวเพื่อให้การบรรเลงบทเพลงนั้นมีระดับเสียงที่ถูกต้องแล้ว ยังควรต้องศึกษาวิธีการใช้คันชักที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของมือและแขนขวาสำหรับการสร้างเสียงดนตรี ผลิตลักษณะเสียงของบทเพลงในมิติต่างๆ เช่น การผลิตคุณภาพเสียง การควบคุมลักษณะเสียง ความเข้มของเสียง เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเสียงของการบรรเลงเครื่องสายที่ดี ซึ่งสามารถใช้เป็นเทคนิคในการถ่ายทอดเนื้อหาของบทเพลงให้มีสีสัน แสดงอารมณ์และแสดงความหมายให้เป็นไปตามที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้ บทบาทหน้าที่และเทคนิคการใช้คันชักเพื่อการผลิตคุณภาพเสียงที่ดีและมีความหลากหลายนั้น มีหลักใหญ่อยู่ 3 ประการคือ ความเร็วของคันชัก น้ำหนักกดบนคันชัก และตำแหน่งที่สีลงบนสาย ซึ่งบทบาททั้งสามนี้ ผู้บรรเลงเครื่องสายที่ต้องใช้คันชักในการบรรเลง ทั้งไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส ต้องทำการศึกษาและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่มีความข้องซึ่งกันและกัน อันจะทำให้เกิดพัฒนาการทางทักษะการบรรเลงให้บทเพลงมีคุณภาพเสียงที่ดี มีความหลากหลาย สามารถควบคุมมิติของเสียงในทิศทางต่างๆ ได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อใช้ปรุงแต่งการบรรเลงให้สามารถถ่ายทอดเนื้อหาอารมณ์ของบทเพลงจากคีตกวีไปสู่ผู้ฟังดนตรีได้อย่างสมบูรณ์ คำสำคัญ: เทคนิคการใช้คันชัก; การผลิตคุณภาพเสียง; การควบคุมลักษณะเสียง; ผู้บรรเลงเครื่องสาย Abstract This study comprises the essential bowing techniques for string instruments that Violin, Viola, Cello and Double Bass players must learn and master. Apart from cultivating the skills for precise fingers placement on the left hand needed to produce the correct intonation and agility, players must also learn the mechanics of the bow arm and how it worked. These techniques allow the player to produce mature characteristic tones, control different sound dynamics, manage sound quality and sound intensity level crucial to string music performance. They are the means to create emotional and expressive performance with virtuosity that is truthful to the music composer’s intentions. All string players where a bow is used, from Violin, Viola, Cello to Double Bass musicians, must perfect the bowing techniques. They must master the three key elements which are speed, weight and point of contact to the strings. These methods give the player ability to control tone quality, rhythm, dynamics and articulation in order to perfectly deliver insightful performances to the audience with due reverence to the composer. Keyword: Bow Technique; Tone Production; Dynamic Control; String Players