การศึกษาปัจจัยเชิงเหตุและผลของแรงจูงใจในการเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน: การทดสอบทฤษฎีการกำหนดตนเอง

Authors

  • หัสดิน แก้ววิชิต สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

Abstract

A Study of Antecedents and Consequences of Academic Motivation of Rajabhat University Students in Upper Northeastern Provinces: A Testing of Self-Determination TheoryThe main purposes of this study were 1) to test a causal relationship model of academic motivation and 2) to compare the structural equation model differences between Loei Rajabhat University students and Udon Thani Rajabhat University students. The samples were 1,049 undergraduate students, enrolling in Human Behavior and Self-Development course, in upper northeastern provinces. The samples were selected by purposive sampling. Perceived basic psychological needs (perceived autonomy, perceived competence, and perceived relatedness) were modeled as antecedents of academic motivation. Academic effort and academic relaxation were modeled as consequences. The finding revealed that the hypothesized structural equation model was adjusted in harmony with the fitted empirical data (2 = 1060.756, df = 381, p = .000, RMR = .060, RMSEA = .030, GFI = .944, NFI = .938, CFI = .959, AGFI = .944, 2/df = 2.784). The perceived basic psychological needs through academic motivation had indirectly affected to academic effort and academic relaxation. All of perceived basic psychological need variables could account for 77 percent of variance in academic motivation, 26 percent of variance in academic effort, and 39 percent of variance in academic relaxation. There were no difference on structural models between Loei Rajabhat University students and Udon Thani Rajabhat University students.   Keywords: academic motivation, basic psychological needs, effort, relaxation, university students, self-determinationบทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของแรงจูงใจในการเรียน และ 2) เปรียบเทียบแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่ลงทะเบียนในรายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน จำนวน 1,049 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีการรับรู้ความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ ได้แก่ การรับรู้ความเป็นตัวของตัวเอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับอาจารย์ผู้สอนเป็นตัวแปรเชิงเหตุ และความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน และความผ่อนคลายในการเรียนเป็นตัวแปรเชิงผล ผลการวิจัยพบว่าแบบจำลองแรงจูงใจในการเรียนภายหลังการปรับแก้มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2 = 1060.756, df = 381, p = .000, RMR = .060, RMSEA = .030, GFI = .944, NFI = .938, CFI = .959, AGFI = .944, 2/df = 2.784)  ทั้งนี้ การรับรู้ความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ 3 ด้าน  มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน และความผ่อนคลายในการเรียน ผ่านแรงจูงใจในการเรียน โดยอิทธิพลของการรับรู้ความต้องการพื้นฐานทางจิตใจทั้ง 3 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจในการเรียนจากการกำหนดตนเองได้ร้อยละ 77 ขณะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนได้ร้อยละ 26 ความผ่อนคลายในการเรียนได้ร้อยละ 39 ผลการเปรียบเทียบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์ไม่พบความแตกต่างระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี   คำสำคัญ: แรงจูงใจในการเรียน ความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความผ่อนคลาย นักศึกษา การกำหนดตนเอง 

Author Biography

หัสดิน แก้ววิชิต, สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

อาจารย์ประจำสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Downloads

Published

2016-10-13