The Lifelong Learning Mindset Model of Private University Undergraduate Students, Bangkok Metropolis

Authors

  • สตรีเอวา จำปารัตน์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยา กลุ่มจิตวิทยาการเรียนรู้และการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Abstract

รูปแบบกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครAbstract The objectives of this research were 1) to study the lifelong learning mindset factors of private university undergraduate students in the Bangkok metropolis, 2) to construct a lifelong learning mindset model of private university undergraduate students in the Bangkok metropolis, and 3) to evaluate the effectiveness of the lifelong learning mindset model of private university undergraduate students in the Bangkok metropolis. The sample of the study included 2 groups. The first group consisted of 600 undergraduate students from 9 private universities in the Bangkok metropolis. The second group consisted of 40 undergraduate student volunteers from Rattana Bundit University who received the lowest lifelong learning mindset scores. They were then divided through simple random sampling into an experimental and a control group, 20 subjects in each group. The research instruments were 1) the lifelong learning mindset scale with the total reliability coefficient (alpha) of 0.862 and its construct validity confirmed through factor analysis. In the exploratory factor analysis with KMO=.957 and the communalities ranging from .424 – .724, there were 9 components of eigenvalues more than 1, and the confirmatory factor analysis with goodness of fit were as follows: = 1328.07 (p=0.0), /df=1.77, GFI=0.90, AGFI= 0.89, CFI=0.99, RMR=0.016 and RMSEA=0.036. 2) The lifelong learning mindset model had an item objective congruence (IOC) of 1.00. The research results were as follows: 1) the total mean score of the lifelong learning mindset of the 600 subjects was high, the mean score of the dimensions of the development mindset was very high as well as the mean scores in descending order of the active learning mindset, the willpower mindset, the means mindset, the challenging mindset, the implementation mindset, the curiosity mindset and the modeling mindset, respectfully. 2) The lifelong learning mindset model included the concepts and learning management of learning psychology theories. These theories were self-theories of intelligence, information processing theory, social cognitive theory, experiential learning, and learner-centered learning. The model was implemented through 5 stages: concrete experience, reflective observation, abstract conceptualization, active experimentation, and the lifelong learning mindset reflection. 3) The lifelong learning mindset of the experimental group after participating in the lifelong learning mindset model was significantly increased at .01 level and 4) the lifelong learning mindset of the experimental group after participating in the lifelong learning mindset model was significantly higher than that of the control group at .01 level. Keywords: Model, The lifelong learning mindset, Private university, Undergraduate students  บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) สร้างรูปแบบกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 9 แห่ง จำนวน 600 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ อาสาสมัครนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ที่มีคะแนนกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตต่ำสุดจำนวน 40 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย 1) แบบวัดกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต มีค่าความเที่ยงโดยรวมเท่ากับ 0.862 วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พิจารณาจาก KMO=.957, Communalities=.424–.724,  สกัดได้ 9 องค์ประกอบ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พิจารณาจาก =1328.07(p=0.0),                  /df=1.77, GFI=0.90, AGFI=0.89, CFI=0.99, RMR=0.016, RMSEA=0.036 และ 2) รูปแบบกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตมีค่า IOC=1.00 ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 ด้าน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนค่าเฉลี่ยรายด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับสูงมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการเรียนรู้เชิงรุก ด้านความมุ่งมั่น ด้านวิธีการเรียนรู้ ด้านความท้าทาย ด้านการลงมือปฏิบัติจนเกิดผล ด้านความสงสัยใคร่รู้ ด้านการเรียนรู้จากตัวแบบ และด้านความเป็นพลวัต อยู่ในระดับสูง 2) รูปแบบกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นผลจากการบูรณาการสังเคราะห์แนวคิดและการจัดการเรียนรู้ของทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่ประกอบด้วย ทฤษฎีแห่งตนทางปัญญา ทฤษฎีการประมวลสารสนเทศ ทฤษฎีปัญญาสังคม การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ และการเรียนรู้โดยเน้นวิธีการเรียนรู้เป็นสำคัญ ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำเสนอประสบการณ์รูปธรรม ขั้นสะท้อนความคิด ขั้นสร้างแนวคิด ขั้น  ฝึกปฏิบัติ และขั้นสะท้อนกรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต 3) กรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่ากรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: รูปแบบ กรอบคิดใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเอกชน นักศึกษาปริญญาตรี

Downloads

Published

2014-01-30

Issue

Section

บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์