ปัจจัยเชิงเหตุทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Abstract
The purpose of this study were to examine and compare the structural relationship models of the psycho-social causal factors related to the competency and research-based instruction behaviors between government and university lecturers working in Rajabhat Universities in Bangkok metropolitan and vicinity. A total of 720 participants were selected. Descriptive statistics were analyzed by statistical package and the hypothesized models were examined by LISREL. The findings were as follows: 1) The hypothesized structural equation model of the psycho-social factors related to the competency and research-based instruction behavior was adjusted, resulting in the satisfactory level of goodness of fit indices with c2=440.19, SRMR=.048, RMSEA=.072, GFI=.93, NFI=.97, CFI=.97, TLI=.97, AGFI=.90, PNFI=.75, and c2/df=4.73. 2) There was a difference in the structural model of the causal factors related to the competency and research-based instruction behaviors between government lecturers and university employed lecturers. The direct effect of competency on research-based instruction behaviors was found to be different, showing that the effect of government lecturers group was higher. 3) Latent means of competency, conscientiousness, job satisfaction, and perceived organizational support among government lecturers were higher than university employed lecturers. Keyword: Research-based instruction behaviors, Competency, Conscientiousness, Job satisfaction,Rajabhat Universityบทคัดย่อ การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อทดสอบและเปรียบเทียบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ระหว่างอาจารย์ข้าราชการและอาจารย์พนักงานมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 720 คน และ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติพรรณนาและการแจกแจงของตัวแปรด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะของอาจารย์และพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานที่ปรับมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก c2=440.19, SRMR=.048, RMSEA=.072, GFI=.93, NFI=.97, CFI=.97, TLI=.97, AGFI=.90, PNFI=.75, c2 / 2=4.73 2) แบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างอาจารย์ข้าราชการและอาจารย์พนักงานมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกันเฉพาะค่าอิทธิพลของสมรรถนะของอาจารย์ที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน โดยอาจารย์พนักงานมหาวิทยาลัยมีค่าอิทธิพลสูงกว่า และ 3) อาจารย์ข้าราชการมีค่าเฉลี่ยตัวแปรแฝงสมรรถนะของอาจารย์ ความมีสติรู้คิด ความพึงพอใจในงาน และการรับรู้การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมากกว่ากลุ่มอาจารย์พนักงานมหาวิทยาลัย คำสำคัญ: พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน สมรรถนะ ความมีสติรู้คิด ความพึงพอใจในงานมหาวิทยาลัยราชภัฏDownloads
Published
2013-09-15
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์