ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา(Experience of Spirituality in Teachers: A Phenomenological Study)
Abstract
This research had two main objectives: 1) to describe and narrate the experience of spirituality inteachers who received awards from the ideological and spiritual teacher project and 2) tounderstand the process of development of spirituality among teachers who were awarded. Thiswas a phenomenology study using the Empirical existential-phenomenology of Amedeo Giorgi.Key Informants in this study were 3 teachers who are in service teachers and received awards bythe Office of Basic Education for being ideological and spiritual teacher. The method used waspurposive sampling. In addition, 15 secondary key informants were selected for interviewing witha view to support information.The study results showed core structure, which is the essence of the experience of teacherspirituality included of 3 stages: 1) The development of teacher spirituality is related to thedevelopment of five themes, including a model of teacher spirituality, incentives to enter teaching,experience in coping and facing difficult conditions in life, relationship between teacher and pupil,and basic psychological features. 2) Being a teacher who has spirituality is an emerging of themental state and behavior of spirituality within the person himself. The meaning of “Being aspiritual teacher” includes awareness of being a teacher and practice as a teacher with the goal ofworking for children, and treat them with love and compassion. 3) The sustaining of teacherspirituality is founded to be composed of happiness and pride, relationship between teacher andpupil, and faith on individuals who believe in the value of the homeland.Keywords: spiritual teachers’ experience, teacher spiritual, the spiritual development process,phenomenologyบทคัดย่อการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณนาและบรรยายประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูของกลุ่มครูที่ได้รับรางวัลในโครงการครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู และเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูของกลุ่มครูที่ได้รับรางวัลในโครงการครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครูเป็นการศึกษาโดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์วิทยา และได้ประยุกต์แนวทาง การวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบปรากฏการณ์วิทยา-อัตถิภาวะเชิงประจักษ์ตามแนวของ Amedeo Giorgi ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ข้าราชการครูในสายสอนที่ได้รางวัลในโครงการตามรอยเกียรติยศครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 3 คน ผู้ให้ข้อมูลรอง จำนวน 15 คน ผลจากการศึกษาพบว่า โครงสร้างอันเป็นแก่นสาระของประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู ประกอบ 3 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงการพัฒนาสู่การเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู คือ ระยะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางจิตและพฤติกรรมจากการทำงานในอาชีพครูไปสู่สภาวะทางจิตและพฤติกรรมของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู ซึ่งจากผลของการศึกษาพบมูลเหตุที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสู่การเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู เรียกว่า ส่วนเสริมสร้างการพัฒนาสู่การเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู5 ประเด็น ได้แก่ การมีตัวแบบจิตวิญญาณ แรงจูงใจในการเข้าสู่อาชีพครู มีประสบการณ์ในการเผชิญและพบเห็นสภาพชีวิตที่ยากลำบาก ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ และคุณลักษณะพื้นฐานทางจิตวิทยา 2) ช่วงการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู คือ การเกิดสภาวะทางจิตและพฤติกรรมของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูขึ้นภายในตัวบุคคล แสดงให้เห็นถึงความหมายของ “การเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู” ซึ่งประกอบด้วยการที่บุคคลมีความตระหนักรู้ในความเป็นครู ปฏิบัติตนอยู่บนวิถีแห่งความเป็นครู มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อเด็ก และการปฏิบัติต่อเด็กด้วยความรักและความเมตตา 3) ช่วงการคงอยู่ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู คือ ระยะที่สภาวะทางจิตและพฤติกรรมของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครูคงอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งจากผลของการศึกษาพบมูลเหตุที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ของสภาวะทางจิตและพฤติกรรมของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู เรียกว่าส่วนที่ช่วยค้ำจุนการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู 4 ประเด็น ได้แก่ ความสุข ความภาคภูมิใจ ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์และศรัทธาต่อบุคคลผู้ทรงคุณค่าของแผ่นดินคำสำคัญ: ประสบการณ์ของครูผู้มีจิตวิญญาณ จิตวิญญาณครู กระบวนการพัฒนาความเป็นครู การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยาDownloads
Published
2012-03-15
Issue
Section
บทความวิจัย/ปริญญานิพนธ์