รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมในงานที่มีต่อ พฤติกรรมบริการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากร ทางการแพทย์

Authors

  • อังศินันท์ อินทรกำแหง (Ungsinun Intarakhamhang) Associate Professor at Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University
  • วรสรณ์ เนตรทิพย์ (Worasorn Netthip) Doctoral student at High education administration, Education faculty, Srinakharinwirot University

Abstract

Causal Relation Model of Person and Job Environment Factorsto Service Behaviors in Health Promotion and Disease Preventionamong Health Care ProvidersThe objectives of this explanation research were to develop causal relationship of servicebehaviors in health promotion and disease prevention, and determine the effect size of supervisorsupport, job policy, job satisfaction, and job motivation influencing service behaviors amonghealth care providers working in 250 clinic classes under the universal coverage system. Samplewas 579 health care providers working in government sector, and private sector in Bangkok bystratified random sampling. The measuring instrument used for this research is a five-scaledquestionnaires with its reliability between 0.746 and 0.953. LISREL is used for analyzingconfirmatory factor, and the goodness of fit of model. Findings revealed that 1) health careproviders had an overall satisfaction to service of National Health Security Office in Bangkok(NHSO) at high level (x = 3.85, SD = .71), disease preventing and health promoting policy ofNHSO in Bangkok at highest level (x = 4.05, SD = .65), and encourage knowledge by training,conference, health manual at high level (x = 3.91, SD = .68), 2) causal model was consistent withopinion of health care providers in accepted level (χ2 / df = 1.22, RMSEA = .043, RMR = .0016,AGFI = .93, GFI = .96, CFI = 1.00, CN = 365.06). All of the factors could predict servicebehaviors in health promotion and disease prevention at 82% and job motivation at 56% and3) job motivation had influence on service behaviors in highest level at .54 (p< .05), supervisorsupport and job policy indirect effect to service behaviors bypass job satisfaction (p< .05).Keywords: service behaviors, health promotion and disease prevention, job satisfaction,job motivation, job environmentบทคัดย่อการวิจัยเชิงอธิบายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงเหตุของพฤติกรรมบริการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านบุคคลและสภาพแวดล้อม ในงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมบริการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เขตกรุงเทพมหานครจำนวน 250 แห่ง กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามหน่วยบริการสถานพยาบาลได้กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ 579 คน เครื่องมือใช้แบบสอบถามมาตรวัด 5 ระดับ (α – Coefficient อยู่ระหว่าง .746 - .953) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้บริการทางการแพทย์มีความพึงพอใจโดยรวมต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 13กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (x = 3.85, SD = .71) ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย โดยมีความพึงพอใจต่อนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x = 4.05, SD = .65) และด้านส่งเสริมองค์ความรู้ในรูปแบบจัดประชุมวิชาการ อบรม หนังสือ คู่มือสุขภาพ (x = 3.91, SD = .68) 2) แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่พอยอมรับได้ (χ2/df = 1.22, RMSEA = .043,RMR = .0016, AGFI = .93, GFI = .96, CFI = 1.00, CN = 365.06) และพบว่าตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมบริการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ร้อยละ 82.00 และทำนายแรงจูงใจในงานได้ร้อยละ 56 และ 3) แรงจูงใจในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมบริการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสูงสุดเท่ากับ .54 (p-value < .05) ส่วนการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาและนโยบายในการทำงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมบริการงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคผ่านความพึงพอใจในงาน (p-value < .05)คำสำคัญ: พฤติกรรมบริการ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจในงานสภาพแวดล้อมในงาน

Downloads

Published

2012-03-15