การพัฒนาความเข้มแข็งการให้สุขศึกษาชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข:กรณีศึกษา ชุมชนนวลจิต เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร (The Strength Development in Community Health Education of Health Volunteers: A Case Study of Nualjit Community, Wattana District, Bangkok)

Authors

  • พัชรี ศรีสังข์ (Patcharee Srisung)

Abstract

          Purposes of this research were to develop and study effectiveness of the strength development in community health education of health volunteers of Nualjit community. The sample group was 6 of 20 health volunteers of Nualjit community, interested and voluntarily participated in the development program every time. Their work was related to primary health care at North and South Nualjit Health Center. The research tools consisted of 1) the strength development tool in community health education and 2) the effectiveness study tool of the strength development in community health education. There were major 2 findings of this research. Firstly, while implementing the development program, according to the effective development criteria there were evidently oral results of 2 rounds of the volunteers. In the 1st round of the preparation stage of the community health education process of community health education, the volunteers practicing medium and high levels had equal numbers. In the 2nd round of the preparation stage most volunteers were at the high level. For the 1st and the 2nd round of the problems and needs assessment stage and the evaluation stage of community health education the volunteers were at the high level. For the 1st round of the planning stage of community health education, the volunteers were at the medium level. But, in the 2nd round, most volunteers were at the high level. Moreover, the 1st and the 2nd round of the practice stage of community health education plans and projects and the coordinating provision stage of health education services, the volunteers were at the high level. There was no any outcome in the 1st round. However, some activities in health education which were initiated in the 2nd round resulted in the better health of the Nualjit people. As a result, the Nualjit people had better consciousness in dumping garbage in proper disposal. 200 Nualjit people also received health service, such as high blood pressure, diabetic test, and cholesterol level, from Petchvej Hospital. Secondly, the mean scores of intellectual, skill, and attitude towards community health education of the sample before employing the development program were need to improve, little and medium levels respectively. The mean scores of the 3 areas after the development program were very good, high, and highest levels respectively. The pre and post scores were statistically significant difference at the .05 level. The post scores were effective according to the development criteria. Keywords: strength development, community health education, health volunteers บทคัดย่อ           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาความเข้มแข็งการให้สุขศึกษาชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิต กลุ่มตัวอย่างได้มาจากประชากรอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิตทั้งหมด 20 คน ที่มีความสนใจและสมัครใจเข้าร่วมการพัฒนาครั้งนี้ทั้ง 2 รอบ จำนวน 6 คน ที่ปฏิบัติงานการสาธารณสุขมูลฐาน ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนนวลจิตเหนือและใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ช่วยพัฒนาความเข้มแข็งการให้สุขศึกษาชุมชน และ 2) เครื่องมือที่ศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาความเข้มแข็งการให้สุขศึกษาชุมชน ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) ขณะพัฒนาความเข้มแข็งการให้สุขศึกษาชุมชนมีหลักฐานคำพูดผลการใช้กระบวนการสุขศึกษาชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิตมีประสิทธิผลตามเกณฑ์ทั้ง 2 รอบ โดยขั้นการเตรียมการดำเนินการกระบวนการสุขศึกษาชุมชน รอบที่ 1 อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิตปฏิบัติได้ระดับมากและระดับพอสมควรมีจำนวนเท่ากัน รอบที่ 2 ส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ระดับมาก ขั้นการประเมินปัญหาสุขภาพและความต้องการสุขศึกษาชุมชน และขั้นการประเมินผลสุขศึกษาชุมชน รอบที่ 1 อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิตส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ระดับมาก รอบที่ 2 ทุกคนปฏิบัติได้ระดับมาก ขั้นการวางแผนสุขศึกษาชุมชน รอบที่ 1 อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิตทุกคนปฏิบัติได้ระดับพอสมควร รอบที่ 2 ส่วนใหญ่ปฏิบัติได้ระดับมาก ขั้นการปฏิบัติตามแผนงานและโครงการสุขศึกษาชุมชน และขั้นการประสานงานบริการสุขศึกษาชุมชน ทั้งรอบที่ 1 และ 2 อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิตทุกคนปฏิบัติได้ระดับมาก และผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้กระบวนการสุขศึกษาชุมชนในรอบที่ 1 ไม่มี แต่ในรอบที่ 2 ได้มีการนำกิจกรรมการให้ สุขศึกษาบางกิจกรรมไปใช้ แล้วส่งผลให้ชาวบ้านชุมชนนวลจิตมีสุขภาพอนามัยแข็งแรงดีขึ้นจากการที่ชาวบ้านชุมชนนวลจิตส่วนใหญ่มีความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทิ้งขยะลงในภาชนะที่ถูกต้อง สภาพแวดล้อมในชุมชนนวลจิตสะอาดมากขึ้น ชาวบ้านชุมชนนวลจิตจำนวน 200 คน ได้รับการรักษาสุขภาพและตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลเพชรเวช เพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และ 2) ประสิทธิผลของการพัฒนาความเข้มแข็ง การให้สุขศึกษาชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนนวลจิต 2.1) ด้านสติปัญญา 2.2) ด้านทักษะ และ2.3) ด้านเจตคติ ก่อนการพัฒนามีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าอยู่ในระดับปรับปรุง เล็กน้อย และปานกลาง ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับภายหลังการพัฒนา มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าอยู่ในระดับดีมาก มาก และมากที่สุด ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และมีประสิทธิผลตามเกณฑ์การพัฒนา คำสำคัญ: การพัฒนาความเข้มแข็ง การให้สุขศึกษาชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข

Downloads