ประสบการณ์ความเครียดและวิธีการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลจากการเรียนภาคปฏิบัติในห้องคลอด (Stress Experience and Stress Coping Behavior of Nursing Students from Clinical Learning at Labour Room)

Authors

  • สุมาลี จูมทอง (Sumalee Jumthong)
  • ดุษฎี โยเหลา (Dusadee Yaelao)
  • งามตา วนินทานนท์ (Ngamta Vanindananda)
  • สธญ ภู่คง (Sadhon Bhukong)

Abstract

          The main purposes of this qualitative research that was conducted by case study approach were to explain meaning of stress from clinical learning of nursing students at labour room. The subpurposes of this research were to: 1) Understand the stress experience in clinical learning of nursing students at labour room, 2) Understand the stress coping behaviors of nursing students. Samples consisted of 3 third year nursing students who passed clinical learning at labour room. Data were gathered by in-depth interview, nonparticipant observation, field notes, and tape recording. The data were analyzed by qualitative data analysis.           The major following findings were found:          - Meaning of stress of nursing students at labour room were a feeling of anxiety, excite, and fear about clinical learning in Obstetric nursing. In addition eating and sleeping patterns were changed when the nursing students had the experiences in the labor room. The factors effected to stress in clinical learning of nursing students were the clinical environment in the labour room, sign and symptom of labour pain, the first time of experience in clinical learning of Obstetric nursing, the different situation of assisting childbirth between an actual situation in labour room and a practical situation in simulation laboratory, time consuming when the nursing students attended first stage of labour that effected to daily life patterns.                    - Stress coping behaviors in clinical learning of nursing students included to tell the practice problems with peers, consult the problems with clinical teachers staff nurses, practice to assisting childbirth in nursing laboratory and earn moral social support from peers clinical teachers staff nurses and their family.Keywords: Stress, Stress experience, stress coping behavior  บทคัดย่อ           การศึกษาเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออธิบายถึงความหมายของความเครียดของนักศึกษาพยาบาล จากการให้ความหมายผ่านประสบการณ์ในการเรียนภาคปฏิบัติในห้องคลอด โดยมี 2 จุดมุ่งหมายย่อย ได้แก่ 1) เพื่อทำความเข้าใจกับประสบการณ์ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลจากการเรียนภาคปฏิบัติในห้องคลอด 2) เพื่อทำความเข้าใจกับการเผชิญความเครียดของนักศึกษาพยาบาลจากการเรียนภาคปฏิบัติในห้องคลอด ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือนักศึกษาพยาบาลที่ผ่านประสบการณ์ตรงที่ฝึกวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ในห้องคลอด ชั้นปีที่ 3 จำนวน 3 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนาม และการบันทึกเทป และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการศึกษาด้วยกรณีศึกษา ผลจากการศึกษา มีดังนึ้           ประสบการณ์ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลจากการฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด นักศึกษามีความเครียดซึ่งเป็นความรู้สึกตื่นเต้น วิตกกังวลและกลัวการฝึกภาคปฏบัติในห้องคลอด นอกจากนี้มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันจากการมีประสบการณ์การฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด คือแบบแผนการนอนหลับ และแบบแผนการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาที่มีประสบการณ์การฝึกปฏิบัติในห้องคลอด ได้แก่ สภาพแวดล้อมของห้องคลอด สภาพของผู้คลอดขณะเจ็บครรภ์คลอด การเป็นประสบการณ์ครั้งแรกในการฝึกปฏิบัติ ทักษะการทำคลอดที่ยากและแตกต่างจากสถานการณ์จำลอง การติดตามเฝ้าคลอดในระยะยาวนานเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน           วิธีการเผชิญความเครียดของนักศึกษาที่มีประสบการณ์ฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด คือ การระบายความรู้สึกกับเพื่อน ปรึกษาอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ พยาบาลพี่เลี้ยง อ่านหนังสือให้มากขึ้น และการฝึกซ้อมทำคลอดหุ่นในห้องปฏิบัติการพยาบาล และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ พยาบาลพี่เลี้ยงและครอบครัว คำสำคัญ: ความเครียด ประสบการณ์ความเครียด วิธีการเผชิญความเครียด 

Downloads