Youth Perceptions on Cyberbullying (การรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ )

Authors

  • ณัฐรัชต์ สาเมาะ นักศึกษาปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมพวัลย์ บุญมงคล รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • Timo T. Ojanen นักวิจัย ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รณภูมิ สามัคคีคารมย์ อาจารย์ ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Thomas E. Guadamuz นักวิจัย ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Abstract

This qualitative study focused on the perceptions youth have about cyberbullying – its definition, types, causes, impact and ways of managing it. The data were collected from 15-24 year old youth in Central Thailand through 22 focus groups with 4-6 participants each, as well as 26 in-depth interviews, totaling 136 participants. Findings indicated that youth view cyberbullying as harming others through mobile phones and the Internet.  The actions must cause real harm and annoyance to the person they are done to, and be done with intention to harm, to count as cyberbullying. The relationship between the parties involved is a further consideration. Types of cyberbullying perceived by youth include verbal abuse and attacks over the Internet or mobile phone, online sexual harassment, impersonation of others to harm them, and online hate groups. The youth studied viewed that the anonymity of cyberspace is a key cause of cyberbullying; they also considered cyberbullying to be a continuation of previous offline violence incidents. In their view, cyberbullying impacts both on the individual and on their social interactions. They thought they would manage the problem by themselves or perhaps consult their friends, but not their parents. A cause for concern is that they viewed cyberbullying as       an ordinary matter.  Keywords: cyberbullying, perception, youth violenceบทคัดย่อ การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของเยาวชนต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ ในแง่ของความหมาย รูปแบบ สาเหตุ ผลกระทบ และวิธีการจัดการกับปัญหาการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเยาวชนที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 15-24 ปี ในภาคกลาง โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มๆ ละ 4-6 คนจำนวน 22 กลุ่ม และสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 26 คน รวมทั้งสิ้น 136 คน ผลการศึกษาพบว่า เยาวชนให้ความหมายต่อการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ว่าหมายถึง การใช้โทรศัพท์มือถือหรืออินเทอร์เน็ตในการทำร้ายกัน ซึ่งการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์มีมิติที่สำคัญคือต้องสร้างความเสียหาย และสร้างความรำคาญต่อผู้ถูกกระทำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ รูปแบบของการรังแกที่รับรู้ประกอบด้วย การโจมตีหรือใช้วาจาหยาบคายผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ การคุกคามทางเพศออนไลน์ การแอบอ้างชื่อหรือตัวตนของผู้อื่นเพื่อให้ร้าย รวมไปถึงการสร้างกลุ่มขึ้นมาเพื่อโจมตีบุคคลอื่น ส่วนสาเหตุของการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์นั้นเยาวชนรับรู้ว่าเกิดจากความเป็นนิรนามของพื้นที่ไซเบอร์ ความง่ายและสะดวกในการรังแกกัน และเป็นผลที่ต่อเนื่องมาจากการเกิดความรุนแรงในพื้นที่จริง ผลกระทบจากการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ก็จะส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล และระดับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในแง่ของการจัดการปัญหาดังกล่าวพบว่าเยาวชนมีการรับรู้ว่าจะจัดการปัญหานี้ด้วยตัวของตัวเอง หรืออาจมีการปรึกษาเพื่อนๆ บ้าง แต่จะไม่ปรึกษาผู้ปกครอง และประเด็นที่ต้องตระหนักคือปัญหาเกี่ยวกับการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสายตาของเยาวชน   คำสำคัญ: การรังแกในพื้นที่ไซเบอร์, การรับรู้, ความรุนแรงในเยาวชน 

Downloads

Published

2014-01-31

Issue

Section

บทความวิจัย