Pattern of Life Style, Child Rearing and Parent-Teacher-Student Relationship : A Case Study of Primary Level Students whose Parents Work in Industrial Sectors in Samutsongkram Province
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ครู และนักเรียน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่พ่อแม่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้ง ศึกษาผลกระทบที่เกิดแก่นักเรียนจากการทำงานของพ่อแม่ จากบุคคลที่เป็นพ่อแม่ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 17 คน และผู้ให้ข้อมูลเสริม คือ นักเรียน ครู ผู้นำชุมชน พนักงานในโรงงาน จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานในโรงงานใช้เวลาในช่วงเช้าและหลังเลิกงานในการจัดการภาระงานบ้านในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของผู้หญิง ในบางครอบครัวที่แม่ทำงานในโรงงานและพ่อทำงานที่บ้าน มีการสลับบทบาทให้พ่อทำงานบ้าน ผู้ทำหน้าที่ดูแลเด็กส่วนใหญ่ คือ แม่ รองลงมา คือ พ่อ โดยในบางครอบครัวจะมีญาติผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วย ด้านรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูบุตร พบว่า มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การอบรมเลี้ยงดูโดยมีตัวแบบ นอกจากนี้ พ่อแม่มีการใช้วิธีการลงโทษด้วย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก พ่อแม่จะสื่อสารกับเด็กเกี่ยวกับความคาดหวังและความวิตกกังวลที่พ่อแม่มีต่อลูก นอกจากนี้ พ่อแม่มีการเตรียมความพร้อมและการวางแผนการศึกษาให้แก่ลูก สนับสนุนการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ รวมทั้ง จัดระบบระเบียบการทำการบ้านและการเรียนรู้ของลูก สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน ครูสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน ด้วยการให้ความอบอุ่น เอาใจใส่ เกื้อกูล ห่วงใย ทั้งในด้านวิชาการ ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์เมื่ออยู่ในโรงเรียน และด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับครูจะเป็นในรูปแบบของความร่วมมือในการดูแลเด็ก พ่อแม่ได้รับบันทึกจากทางโรงเรียน การไปเยี่ยมบ้าน และการประชุมผู้ปกครองปีละ 2 ครั้ง ครอบครัวที่พ่อแม่ทำงานโรงงานทั้งคู่และเด็กไม่มีผู้ใหญ่ดูแล ครอบครัวที่พ่อแม่ทำงานโรงงานและเป็นคนต่างถิ่น ซึ่งจะส่งลูกไปให้ปู่ย่าตายายที่ต่างจังหวัดเลี้ยงดู และครอบครัวที่บ้านพักอยู่ในโรงงานที่พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน คำสำคัญ รูปแบบการดำเนินชีวิต, การอบรมเลี้ยงดูบุตร, ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ครู และนักเรียน Abstract The purpose of this research was to study patterns of life style, child rearing and parent-teacher-student relationship of primary level students whose parents work in industrial sectors in Samutsongkram Province and their impact factors. The key informants were 17 parents working in industrial sectors and 17 sub-informants including teachers, community leaders, students and industrial workers. This research reveals that parents who work in the industrial sectors have a similar routine in their daily life. They spend their morning hours and free time after work to manage their household tasks, most of which are responsible by the females in the family. In some cases, mothers and fathers switch roles: mothers work outside and fathers at home. In this case, fathers take care of the household chores. However, mothers are still responsible for taking care of the children, assisted by fathers, and sometimes the elders in the family. For the child rearing practice, the research finds that there are three patterns; supportive parenting, rational parenting and role-model parenting and that some parents still punish their children. In the area of parents and children relationship, it is found that sometimes parents express their expectation and concern to their children. Besides, parents prepare to pave a way to a better future for their children by giving them an education, supporting them to do helpful activities and managing their study and homework. Teachers and students have a good relation based on love and caring. Teachers not only take care of their education, behavior and emotion in school but also their life outside the school’s area as well. Parents and teachers’ relation is based on cooperation. Most parents pay attention to teachers’ comments about their children. Furthermore, besides teachers’ visit to student’s home, the school usually hosts a parent-conference twice a year. The children in the families where both of parents work in the industrial sector and have no other relatives to look after the children, the families that come from other provinces, send their children back to their hometown and have the elder relatives raise their children and, the family that has a house in the factory’s area but neglect their children, are likely to have deviant behavior. Key Words: Patterns of Life Style, Child Rearing Practice, Parent-Teacher-Student RelationshipDownloads
Published
2017-06-26
Issue
Section
บทความวิจัย