คู่วัจนกรรมการซื้อขายสินค้าที่ปรากฏในแบบเรียนสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนต่างชาติ
Abstract
บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของคู่วัจนกรรม (Adjacency pairs) การซื้อขายสินค้าและโครงสร้างที่พึงประสงค์ (Preference organization) ในบทโต้ตอบ (Dialogue) จากแบบเรียนสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนต่างชาติ แหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษา ได้แก่ บทโต้ตอบทุกบทเกี่ยวกับการซื้อขายที่ปรากฏในแบบเรียนสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนต่างชาติระดับต้นซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและแบบเรียนที่จัดทำโดยสำนักพิมพ์ รวม 72 บท จากแบบเรียน 36 เล่ม ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยศึกษา คู่วัจนกรรมที่ใช้ในการเปิดการสนทนา การดำเนินการสนทนา และการปิดการสนทนาโดยอ้างอิงแนวคิด การวิเคราะห์บทสนทนา (Conversation analysis) ผลการศึกษาพบว่าคู่วัจนกรรมที่ปรากฏในแบบเรียนมีรูปแบบเช่นเดียวกับคู่วัจนกรรมที่ปรากฏในการสนทนาจริง ในส่วนของโครงสร้างที่พึงประสงค์พบการใช้คำตอบที่ไม่พึงประสงค์ (Dispreferred response) เช่น การต่อรองราคา และการปฏิเสธการซื้อสินค้าซึ่งเป็นคำตอบที่ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังของคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเพียง 35 คู่ (ร้อยละ 8.35) จากคู่วัจนกรรม 419 คู่ ในขณะที่ปรากฏการใช้คำตอบที่พึงประสงค์ (Preferred response) ซึ่งเป็นคำตอบที่เป็นไปตามความคาดหวังของคู่สนทนา 111 คู่ (ร้อยละ 26.49) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้สร้างบทโต้ตอบให้ความสำคัญกับคำตอบที่พึงประสงค์มากกว่าคำตอบที่ไม่พึงประสงค์ ผู้วิจัยจึงเสนอว่าการสร้างบทโต้ตอบในแบบเรียนน่าจะต้องเพิ่มเติมจำนวนคำตอบที่ไม่พึงประสงค์เพื่อเป็นตัวอย่างการสนทนาให้ผู้เรียนต่างชาตินำไปใช้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์จริง คำสำคัญ: คู่วัจนกรรม, คำตอบที่พึงประสงค์, คำตอบที่ไม่พึงประสงค์, การวิเคราะห์บทสนทนา, แบบเรียนสอนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนต่างชาติ Abstract This study aims to investigate characteristics of adjacency pairs and examine preference organization in business transaction dialogues in Thai textbooks for non-native learners. Data were derived from 72 business transaction dialogues found in 36 Thai textbooks for non-native beginners published by Thai universities and publishers. The dialogues were analyzed in terms of adjacency pairs in opening section, adjacency pairs in proceeding and adjacency pairs in closing section based on Conversation Analysis (CA) framework. The findings revealed that in general, characteristics of adjacency pairs in textbook dialogues were similar to those of authentic conversation. Considering a preference organization of dialogues, it was found that there were only 35 (8.35%) out of 419 adjacency pairs of dispreferred responses, responses which the other interlocutor of conversation did not expect such as bargaining and refusing to purchase goods, while there were 111 preferred responses(26.49%), responses which the other interlocutor of conversation expected. This study showed that textbook writers had paid more attention to preferred responses than dispreferred responses. The researcher proposes that more dispreferred responses should be focused when composing textbook dialogues so that non-native learners can apply them as model dialogues in real situation. Keywords: adjacency pairs, preferred response, dispreferred response, conversation analysis, Thai textbooks for non-native learnersDownloads
Published
2016-06-13
Issue
Section
บทความวิจัย