แนวทางการพัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาภาคตะวันออก

Authors

  • ดร.ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์
  • ดร.พนารัตน์ พนัสจุฑาบูลย์
  • ดร.โสมสิริ จันทรสกุล
  • ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ

Abstract

บทคัดย่อการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 166 คน และครูผู้สอนจำนวน 733 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนรัฐระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยองและสระแก้ว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม รวมทั้งใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารและครูผู้สอนจาก 32 โรงเรียน ผลการวิจัยพบผลว่า 1) ตัวแปรปัจจัยเกี่ยวกับครูมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยพบว่าการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศฯมีอิทธิพลเป็นอันดับแรก ส่วนตัวแปรปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียนมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยพบว่าภาวะผู้นำของผู้บริหารมีอิทธิพลเป็นอันดับแรก     2)ผลจากการสัมภาษณ์ยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษมีการกำหนดแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ชัดเจน มีความพร้อมของบุคลากรทั้งจำนวนและความเชี่ยวชาญ บางโรงเรียนที่มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ได้มีการพัฒนานำโปรแกรมต่างๆมาช่วยบริหารงาน ส่วนการนำมาใช้ในการจัดการความรู้ พบว่าทุกโรงมีการจัดห้องเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แก่นักเรียนได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องมัลติมีเดีย และโรงเรียนส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันถึงบทบาทของภาคส่วนต่างๆ ในการสนับสนุนการพัฒนาการจัดการสารสนเทศของโรงเรียน  3) ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น จำเป็นที่จะต้องมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญได้แก่ บทบาทของผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์และวางแผนอย่างชัดเจน เพื่อนำให้บุคลากรเดินไปในทิศทางเดียวกัน ปัจจัยด้านอุปกรณ์สนับสนุนที่มีสมรรถนะและเหมาะสมกับสถานศึกษาจะต้องคัดเลือกให้เหมาะสมกับโรงเรียนและคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรทั้งความรู้ทักษะ เจตคติที่ดีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการยอมรับ รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่สนับสนุนด้านงบประมาณ ความชัดเจนของทิศทางการพัฒนา          การเอาใจใส่ในการติดตาม และความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน คำสำคัญ : การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  การรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาวะผู้นำ  การจัดการกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การได้รับการสนับสนุนจากเครือข่าย Abstract The purpose of this research was to study guidelines for developing information technology management of schools in eastern educational service area. The sample consisted of 166 school directors and 733 teachers working at public schools in primary and secondary education ,located in Chanthaburi, Chachoengsoa, Chonburi, Trat, Prachinburi, Rayong and Sa Kaeo. Data was collected by questionnaire. Moreover, the school directors and teachers from 32 schools were in-depth interviewed. The research results were found as follows: 1) the variables in teacher level effected on ICT development at .01 significance level and ICT literacy was the first influencer. For the variables in school level, they effected on ICT development at .01 significance level and leadership was the first influencer. 2) The large and extra-large sized schools clearly planned for ICT development. They had enough staff who were the ICT expert. Some schools used the ICT programs to manage their tasks. All of schools set the rooms as computer rooms and multi media rooms to promote students’ learning. Finally, they accorded that public and private sectors including communities had the major role for support schools’ ICT development. 3) For the suggestion, there were many factors to support ICT development. Role of schools’ directors in sharing vision and clearly planning created the guideline for their staff to perform. Hardware and software should have the capacity being proper with the schools and rapidly ICT change. In addition, it should emphasize in human resource development in ICT knowledge, skill, attitude and acceptance. Public sector should support the budget, clearly plan and continuously evaluate. Finally, the supportive factor was the cooperation with stakeholders such as guardians, students and communities. Keywords : Information technology management , ICT literacy, ICT strategy management, Network support 

Downloads

Published

2016-06-13