“ขอม” ในตำนานและนิทานพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

Authors

  • ดร.ดวงเด่น บุญปก

Abstract

บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสื่อความหมายทางสังคมในเรื่องราวเกี่ยวกับขอมและความสัมพันธ์ทางชนชาติระหว่างขอมกับกลุ่มต่างๆ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า “ขอม” ที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาของตำนานและนิทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยได้สื่อความหมายเกี่ยวกับ “ขอม” ในหลายลักษณะ ตำนานและนิทานได้สะท้อนภาพลักษณ์ที่เก่าแก่ของกลุ่มชนชาวขอม ร่องรอยการเคลื่อนไหวและการย้ายถิ่นของชาวขอม พวกขอมในอดีตเป็นชนชั้นปกครองที่มีอำนาจ มีสถานภาพทางสังคมเหนือกว่าชนกลุ่มอื่น การปกครองของพวกขอมใช้ระบบเครือญาติ และความรู้สึกของกลุ่มชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของขอมได้ถูกเล่าขานกันมาช้านานผ่านนิทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการส่งผ่านความในใจของคนในอดีตให้ชนรุ่นหลังได้สัมผัส คำสำคัญ : ขอม, กลุ่มชาติพันธุ์, ตำนานและนิทานพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Abstract This study investigates social communication and ethnic relations between ‘Khom’ and other groups in the Southeast Asian mainland. The word ‘Khom’ in the legends and folktales of northeastern Thailand’s text body present the meaning of ‘Khom’ in many aspects. The legends and folktales express the image of Khom as an old inhabitant group and their journey in the northeastern Thai region. The Khom had a higher status to rule the other ethnic groups in the region and enabled them to hold social status over the others.  The Khom controlled many cities with their network of kinship relations. The reactions of people under the Khom power have been communicating from the past through the present day via the legends and northeastern folktales. This is the way of sending an expression of the inwardness from the past to the later generations. Keywords : Khom, Ethnic Groups, Northeastern legends and folktales

Downloads

Published

2016-01-28