ลักษณะร่วมและการสร้างสรรค์ของเรื่องอัษฎาพานรคำกาพย์ภาคใต้ด้านเนื้อหาคำสอน และกลวิธีการสอน

Authors

  • พัชลินจ์ จีนนุ่น

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องอัษฎาพานรคำกาพย์ภาคใต้ด้านลักษณะร่วมกับเรื่องพระโพธิสัตว์โกสามภินและฉันท์อัษฎาพานรของภาคกลาง และการสร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะถิ่น ผลการศึกษาพบว่าเรื่องอัษฎาพานรคำกาพย์มีเนื้อหาคำสอนร่วมกับเรื่องพระโพธิสัตว์โกสามภินและฉันท์อัษฎาพานร6 ข้อ ได้แก่ สอนการกระทำที่ควรประพฤติปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขส่วนตน สอนการกระทำที่ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ สอนการดูลักษณะของคน และธรรมชาติของคน สอนการปฏิบัติหรือสมาคมกับคนประเภทต่าง ๆ และสอนการเป็นนักปกครองที่ดี โดยเรื่องอัษฎาพานรคำกาพย์ของภาคใต้มีการสร้างสรรค์คำสอนขึ้นเฉพาะถิ่นด้วย ได้แก่ สอนวิธีเข้าถึงความรู้ สอนการปฏิบัติตนเพื่อไปเกิดในภพภูมิที่ดีหรือแสวงหาความหลุดพ้น และสอนการปฏิบัติตนของผู้หญิงเพื่อบรรลุพระพุทธภูมิคำสอนทั้งหมดนี้มุ่งให้ผู้อ่านพบความสุขทั้งในระดับโลกียะและโลกุตระ ด้านกลวิธีการสอนพบว่าเรื่องอัษฎาพานรคำกาพย์มีกลวิธีการสอนร่วมกับเรื่องพระโพธิสัตว์โกสามภินและฉันท์อัษฎาพานร4 ข้อ ได้แก่ สอนอย่างตรงไปตรงมา สอนโดยอ้างจารีตประเพณีของคนโบราณ สอนโดยแสดงผลของการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน และสอนโดยวิธีเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้อ่านคุ้นเคยดีอยู่แล้ว โดยเรื่องอัษฎาพานรคำกาพย์ใช้กลวิธีเปรียบเทียบที่หลากหลายกว่าทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจหลักคำสอนได้ดียิ่งขึ้น กลวิธีการสอนที่สร้างสรรค์ขึ้นเฉพาะถิ่น ได้แก่ สอนโดยยกหลักธรรมประกอบคำสอน สอนโดยอธิบายขยายความหัวข้อคำสอน สอนโดยแสดงผลของการประพฤติปฏิบัติที่ได้รับในโลกหน้า และสอนโดยใช้วิธีเปรียบเทียบตามแบบวิธีในพระไตรปิฎก วิธีดังกล่าวล้วนเชื่อมโยงกับบริบททางพระพุทธศาสนา คำสำคัญ : อัษฎาพานรคำกาพย์    ลักษณะร่วม    การสร้างสรรค์   วรรณกรรมคำสอน Abstract In this research, mutual characteristics among a southern Thai verse of AtsadapanornKamKaap and a Central Thai verse of BodhisattavaKosambhinand Chan Atsadapanornwere were examined. Also, their unique local creations were investigated. The results of this study revealed that the three verses shared several mutual contents. The content included the teachings of how to conduct for personal benefits, how to avoid misbehaviors, how to ponder human characteristics and human natures, how to behave or associate with several types of people, and how to be a good leader. Notably, AtsadapanornKamKaap has apparently been created for Thai southerners. The verse comprised the doctrines of how to access knowledge, how to be born in their next life or even to reach nirvana and it was to teach women to be enlightened according to Buddhist beliefs. All of these doctrines emphasized the readers to be happiness in the worldly pleasure and super-mundane level. The AtsadapanornKamKaap  was prominent due to several reasons.  The writer, a Buddhist monk, wished himself and his readers to be blessed with merits; hence, he attempted to put many Buddhist ideas and teachings in his verse. The writer’s concepts have been influenced by thoughts and beliefs of the society at that time, so he inserted the ideas on hells, paradises, nirvana and reincarnation into his work.  Pertaining to teaching strategies, the three verses contained four mutual characteristics: direct and straightforward teaching, employing ancient traditions as teaching sources, teaching by demonstrating the results of conducts and teaching in the present, and teaching by using the technique of comparisons that most readers were familiar with. However, it should be noted that AtsadapanornKamKaap exploited more various comparison teaching strategies, in order to help the readers comprehend the Buddhist teachings better. In connection with the teaching strategies representing local identities, four aspects were claimed. One was the application of Buddhist doctrines for teaching. Two was relevant to the teaching which explanations would be delivered according to the topics to be taught. With regard to the three, teaching by demonstrating the results of conducts and teaching in the next life, which were related to the Buddhist beliefs. The last aspect was the comparison using the Pali Canon as a guide. All of the strategies were undoubtedly related to Buddhist contexts. Key Words : AtsadapanornKamKaap, Mutual characteristics, Creation, Teaching literatures

Downloads

Published

2016-01-28