วาทกรรมการคุกคามทางเพศในชีวิตประจำวัน
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้วิเคราะห์วาทกรรมการคุกคามทางเพศในชีวิตประจำวัน เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาของผู้คุกคามทางเพศกับการโต้ตอบของผู้ถูกคุกคามทางเพศ และวิเคราะห์วาทกรรมการคุกคามทางเพศกับมุมมองของสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 353 คน จากการวิจัยพบกลวิธีการใช้ภาษาของผู้คุกคามทางเพศ ดังต่อไปนี้ 1) กลวิธีทางวากยสัมพันธ์ 2) กลวิธีทางศัพท์ 3) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม ส่วนกลวิธีการโต้ตอบของผู้ถูกคุกคามทางเพศ พบ 2 วิธี ได้แก่ 1) กลวิธีทางศัพท์ 2) กลวิธีวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม การวิเคราะห์มุมมองการคุกคามทางเพศของผู้คุกคามทางเพศ สะท้อนให้เห็นได้จากกลวิธีการใช้ภาษาของผู้คุกคามทางเพศ ผู้คุกคามทางเพศเปรียบการคุกคามทางเพศหรือผู้ถูกคุกคามทางเพศเป็นเสมือนวัตถุ สิ่งของ อาหาร หรือสัตว์ ที่สื่อถึงเรื่องเพศและการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น การคุกคามทางเพศเป็นการแสดงอำนาจหรือความต้องการครอบงำผู้ถูกคุกคามทางเพศ ส่วนมุมมองของการโต้ตอบการคุกคามทางเพศของผู้ถูกคุกคามทางเพศ เปลี่ยนแปลงไปจากผู้รับการกระทำเป็นผู้โต้ตอบกลับการกระทำด้วยกลวิธีที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้น คำสำคัญ การคุกคามทางเพศ วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ Abstract This research presents a critical discourse analysis of sexual harassment in everyday conversation. The purposes of this research were to examine the linguistic strategies used in the language of sexual harassers and those who were the victims of the harassment and to study social perspectives. The sample data consisted of 353 undergraduate students at Srinakharinwirot University. The results revealed that three major strategies used by the harassers are: 1) syntactic strategy 2) lexical strategy and 3) discourse – pragmatic strategy. As for the language used by victims, two main strategies were used: 1) lexical strategy and 2) discourse – pragmatic strategy. The perspectives of the sexual harassers reflect from the results of harassers’ strategies. Harassers perceive the act of sexual harassment or the harassment victims as objects, foods and animals, all of which reflect only a matter of sex and intercourse. Sexual harassment was considered an act of power or subjection of harasser. The perspectives of those who were harassed varied according to the sexual harassment behaviors, i.e., they changed from being the victim and responded by taking interactive actions dependent on the situation. Keywords sexual harassment, critical discourse analysisDownloads
Published
2014-12-18
Issue
Section
บทความวิจัย