การทำให้เด่นของคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยและภาษาเกาหลี: การศึกษาเชิงไวยากรณ์ปริชานในความหมายเชิงการณ์ลักษณะ

Authors

  • ดร.ปาร์ค คยอง อึน

Abstract

บทคัดย่อ   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง ในความหมายเชิงการณ์ลักษณะของคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยและคำว่า 가다 (/gada/: "go") และ 오다 (/oda/: "come") ในภาษาเกาหลี รวมไปถึงศึกษาเหตุผลหรือกลไกที่ทำให้เกิดความเหมือนและความต่างดังกล่าว โดยใช้ทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชานโดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการทำให้เด่น(windowing)ซึ่งอาจแสดงถึงสากลลักษณ์และปัจเจกลักษณ์ในภาษาที่สะท้อนอยู่ในปรากฏการณ์ภาษาที่เรียกว่า ปรากฏการณ์พหุนัย(polysemy) และการกลายเป็นคำไวยากรณ์(grammaticalization) ผลการศึกษาพบว่า ความหมายต้นแบบที่มีลักษณะเหมือนกันของคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยกับ /gada/ และ /oda/ ในภาษาเกาหลี ทำให้มีการขยายความหมายในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะมีการขยายความหมายเป็นความหมายเชิงการณ์ลักษณะ แต่ก็ยังพบความต่างบางอย่าง เช่น คำว่า ไป ในภาษาไทยแสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะสองแบบ ได้แก่ การณ์ลักษณะต่อเนื่องและการณ์ลักษณะสมบูรณ์ในขณะที่คำว่า /gada/ ในภาษาเกาหลีแสดงถึง การณ์ลักษณะต่อเนื่องเพียงความหมายเดียว สำหรับคำว่า มา กับ /oda/ แสดงความหมายเชิงการณ์ลักษณะปัจจุบันสมบูรณ์เหมือนกัน เว้นแต่มีความแตกต่างกันที่คำว่า มาในภาษาไทยมีการใช้ที่กว้างขวางกว่า /oda/  ผู้วิจัยวิเคราะห์กลไกที่ทำให้เกิดความหมายเชิงการณ์ลักษณะโดยใช้กลไกทางปริชานที่เรียกว่า การทำให้เด่น ซึ่งสามารถอธิบายเหตุผลหรือแรงบันดาลใจของการขยายความหมายเป็นความหมายเชิงการณ์ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างคำศัพท์ดังกล่าวในภาษาไทยและภาษาเกาหลีได้ ผลการวิจัยทำให้สามารถเข้าใจระบบปริชานของผู้ใช้ภาษาทั้งสอง อีกทั้ง สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาเกาหลีสำหรับผู้เรียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำพจนานุกรม การจัดทำตำราเรียนภาษา และการแปลภาษา เป็นต้นอีกด้วย คำสำคัญ : ภาษาศาสตร์ปริชาน, ปรากฏการณ์พหุนัย, การกลายเป็นคำไวยากรณ์, การทำให้เด่น, ความหมายเชิงการณ์ลักษณะ   Abstract   This article provides a comparative analysis on the aspectual meaning of verbs ‘go’ and ‘come’ in Thai and Korean and examines the causes and mechanism that generate similarities and differences in their aspectual meanings in the light of cognitive linguistics theory, inter alia,‘windowing’. This analysis can also present explanation for universality and individuality of language as reflected in the phenomena such as polysemy and grammaticalization. As a result of the analysis, I was able to find that Thai and Korean verbs ‘go’ and ‘come’ share the same prototypical meanings, that those meanings were carried over into similar meaning expansion, and the two verbs in both languages have grammaticalized into aspectual meanings. Such similarities suggest that the verb ‘go’ in both Thai and Korean has a progressive aspect, and the verb ‘come’ has a present perfect aspect.  Nevertheless, the Thai verb ‘/paj/ (go)’has a perfective aspect in addition to its progressive meaning, whereas the Korean verb ‘gada (go)’ did not have such use. Furthermore, it was found that the Thai verb ‘/maa/ (come)’ has broader uses than the Korean counterpart ‘oda (come)’.  In this article, by applying the concept of ‘windowing’, I analyzed the mechanism of the meaning expansion into aspectual meanings to investigate the reason or motivation of the grammaticalization. This study has its significance in that it helps readers understand aspects of the cognitive system of Thai and Korean speakers. The findings from this study contribute to various fields of studies including language instruction, compilation of dictionaries and textbooks, and translation studies as well as cognitive linguistic studies.   Keywords : cognitive linguistics, polysemy, grammaticalization, windowing, aspectual meaning

Downloads

Published

2014-12-18