การศึกษาการรับรู้ทำนองเสียงแสดงอารมณ์ของเด็กไทย
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ทำนองเสียงที่ทำให้ชนิดของถ้อยความแปรเปลี่ยนอารมณ์ไปในขั้วอารมณ์ 2 ขั้วประเภท ได้แก่ ขั้วอารมณ์ประเภทมีความสุข-เสียใจ และขั้วอารมณ์ประเภทสนใจ-เบื่อ ของเด็กไทยในช่วงอายุที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมด 43 คน แบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ คือ กลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 5;0-7;11 ปี และช่วงอายุ 8;0-10;11 ปี กลุ่มละ 20 คน และกลุ่มควบคุมอายุ 20-24 ปี จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ถ้อยความแสดงขั้วอารมณ์ทั้ง 2 ประเภท กลุ่มตัวอย่างจะฟังถ้อยความเป้าหมายรวมทั้งถ้อยความลวง และเลือกรูปภาพแสดงอารมณ์ตามทำนองเสียงที่ได้ยิน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในวัยเด็กทั้ง 2 ช่วงอายุมีความสามารถในการรับรู้ทำนองเสียงแสดงอารมณ์ในขั้วอารมณ์ทั้งสองประเภทได้ค่อนข้างสูง (เฉลี่ยร้อยละ 90.94) แต่เมื่อนำผลการทดสอบมาคำนวณผลทางสถิติ t-test พบว่า ความสามารถในช่วงอายุทั้งสองไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เด็กไทยในช่วงอายุประมาณ 5 ปี สามารถรับรู้ทำนองเสียงที่แสดงอารมณ์ได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว คำสำคัญ : การรับรู้, ถ้อยความแสดงอารมณ์, ทำนองเสียง, เด็กไทยDownloads
Published
2014-06-26
Issue
Section
บทความวิจัย