การศึกษาเปรียบเทียบค่าทางกลสัทศาสตร์ของเสียงสระภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันของผู้เรียนชาวไทยที่เรียนกับครูชาวไทยและของครูชาวไทย
Abstract
ที่ 1, 2 และ 3 (formant frequency) และค่าระยะเวลาในการออกเสียง (duration) สระภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันของผู้เรียน ชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูที่เป็นชาวไทย (TST) จำนวน 9 คน และครูชาวไทย (TT) จำนวน 2 คน โดยเก็บข้อมูลจากการอ่านรายการคำในกรอบประโยค (carrier sentence) จำนวน 88 ประโยค ครอบคลุมเสียงสระ 10 เสียง ได้แก่ /i:, ɪ, eɪ, ɛ, u:, ʊ, oʊ, ɔ, ə (stress1) และ ə (stress2)/ จากนั้นดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางกลสัทศาสตร์ ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์เสียง Praat แล้วนำค่าความถี่ฟอร์เมินท์ที่ 1, 2 และ 3 และ ค่าระยะเวลาของสระของกลุ่มตัวอย่างมาเปรียบเทียบกันโดยการสร้างบริเวณเสียงสระ (vowel space) และโดยการใช้สถิติทดสอบ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูที่เป็นชาวไทย (TST) และครูชาวไทย (TT) มีค่าความถี่ฟอร์เมินท์และค่าระยะเวลาในการออกเสียงสระภาษาอังกฤษใกล้เคียงกัน ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญพบในเสียงสระ /ʊ/ (ในฟอร์เมินท์ที่ 2) และในเสียงสระ /u:, ʊ, oʊ, ɔ, ə (stress1) และ ə (stress2)/ (ในฟอร์เมินท์ที่ 3) คำสำคัญ ผู้เรียนชาวไทย, ครูชาวไทย, สระภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันDownloads
Published
2014-06-26
Issue
Section
บทความวิจัย